แนะนำโชจูญี่ปุ่น 10 ชนิดที่คอเหล้าต้องลอง!
ญี่ปุ่นมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือโชจู (Shochu) หรือเครื่องดื่มกลั่นที่ทำจากข้าว มันเทศ และน้ำตาลแดงหรือบักวีตร่วมกับส่วนผสมอื่นๆ ใครที่อยากรู้ว่าเจ้าเครื่องดื่มตัวนี้มีรสชาติแปลกๆ อะไรให้ได้ลองกันบ้าง และรสไหนห้ามพลาด ก็อ่านกันต่อได้เลย!
บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ
ได้มาดินเนอร์กันในญี่ปุ่นทั้งที จะขาดแอลกอฮอล์ไปได้ยังไง! ถ้าคุณลองเปิดเมนูเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดูก็จะพบกับเบียร์ สาเก วิสกี้ ค็อกเทล และ.. เอ๊ะ อาวาโมริ (Awamori) คืออะไรกันนะ?
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับแอลกอฮอล์สัญชาติญี่ปุ่นที่เรียกว่าโชจูกันก่อน กฏหมายเครื่องดื่มของญี่ปุ่นได้ให้นิยามโชจูไว้ 4 ข้อ ดังนี้
- ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่งอกแล้ว
- ไม่ใช้ถ่านขาวในกระบวนการกลั่น
- ไม่เพิ่มส่วนผสมใดๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ก่อนในระหว่างการผลิต
- มีแอลกอฮอล์ 36 - 45 เปอร์เซ็นต์
โชจูมีวางขายอยู่ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้า ร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงร้านขายยา และในบทความนี้เราก็จะมาบอกเล่าถึงโชจูตัวเด็ด 10 ยี่ห้อให้ได้ไปลิ้มลองกัน
1. Iichiko (いいちこ)
Rie NAKAYA/FlickrIichiko ใช้ธัญพืชเป็นตัวหลักและทำการกลั่นที่อุณหภูมิต่ำ ได้เป็นเครื่องดื่มที่รสชาติค่อนข้างเบาบาง เหมาะสำหรับดื่มแบบ on the rock (ใส่น้ำแข็ง) หรือนำไปเจือจางเครื่องดื่มอื่นๆ ตัวขวดเองก็สวยไม่เบา ดื่มจนหมดแล้วก็ยังเก็บไว้ดูเล่นได้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์นี้เลย
2. Kuro Kirishima (黒霧島)
Kuro Kirishima จะให้สัมผัสหนักและมีรสหวาน แต่จะทิ้งรสชาติแหลมๆ ไว้ในคอ ใช้มันเทศและ kouji (ข้าวนึ่งหมักกับแบคทีเรียข้าวมอลต์) เป็นส่วนผสม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ (ภาษาญี่ปุ่น)นี้
3. Aka Kirishima (赤霧島)
โชจูตัวนี้ผลิตโดยผู้ผลิตเดียวกับ Kuro Kirishima แตกต่างกันที่ตัว Aka (สีแดง) จะใช้มันเทศพันธุ์ Murasakimasari ซึ่งจะมีกลิ่นที่แรงกว่า และได้ความหวานที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถดูเว็บไซต์ภาษาญี่ปุ่นได้ที่นี่
4. Funaguchi Kikusui (ふなぐち菊水)
Shinya ICHINOHE/Flickrเด่นที่รสชาติของผลไม้ ทำให้ดื่มง่ายและเหมาะกับผู้ที่เพิ่งเริ่มดื่มแอลกอฮอล์ มีวางขายในรูปแบบกระป๋องด้วย สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก สำหรับเว็บไซต์ก็ทางนี้เลย
5. Shiro (しろ)
Shiro จะทิ้งรสชาติที่แหลมใสไว้ในคอ เหมาะใช้ดื่มคู่กับอาหารทุกประเภท จะดื่มแบบไม่ผสมอะไรเลย หรือ on the rock หรือจะผสมกับเครื่องดื่มชนิดอื่นก็ย่อมได้ หารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ภาษาญี่ปุ่น
6. Ikkomon (一刻者)
Yasunari Goto/Flickrทำจากมันเทศ 100% มีกลิ่นของมันเทศชัดเจนและไม่มีหางรสใดๆ ทำให้ดื่มแล้วรู้สึกอยากดื่มแก้วต่อไปอีก โดยนอกจากตัวนี้จะมีอีกแบบหนึ่งที่ชื่อว่า Ikkomon Aka (一刻者赤) ซึ่งจะหวานกว่า ไปยังเว็บไซต์ภาษาญี่ปุ่นได้ที่นี่
7. Tominohouzan (富乃宝山)
Ryosuke Hosoi/Flickrบริษัทของ Tominohouzan ผลิตมันเทศที่ใช้ในการทำโชจูขึ้นเอง และใช้ Kouji สีเหลืองทำให้ได้กลิ่นออกเปรี้ยวและมีหางรสแรง สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ภาษาญี่ปุ่น
8. Torikai (鳥飼)
ทำจากข้าว มีรสชาติคล้ายกับผลไม้ในเขตร้อน ไม่ทิ้งรสชาติไว้ในคอ และดื่มค่อนข้างง่าย จึงเป็นยี่ห้อแนะนำสำหรับผู้ที่ดื่มโชจูเป็นครั้งแรกๆ เว็บไซต์ภาษาญี่ปุ่นที่นี่
9. Satsuma Musou (さつま無双)
Satsuma Musou ผลิตในเขต Satsuma ของภูมิภาคคิวชู ใช้มันเทศและน้ำในการผลิต เป็นโชจูที่ไม่ได้วางขายทั่วไป ถ้าใครอยากจะลองชิมก็สามารถตรวจสอบร้านอาหารและร้านค้าที่วางขายได้ที่เว็บไซต์นี้
10. Mitake (三岳)
naka hide/Flickrผลิตโดยใช้นำจากเกาะ Okuno ซึ่งว่ากันว่าเป็นเกาะที่มีน้ำพุร้อนบริสุทธิ์ที่รสชาติดีมาก และนั่นก็ทำให้โชจูตัวนี้หาซื้อได้ยากมากเช่นกัน ถ้าใครเดินไปไหนแล้วเจอ Mitake วางขายอยู่สักขวดก็ภูมิใจได้เลยว่าตัวเองโชคดีมาก! แต่ถึงยังไม่เจอก็สามารถลองหาอ่านเพิ่มเติมก่อนได้ที่นี่เลย
หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !
เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่