9 อาหารญี่ปุ่นที่คุณควรลองในแต่ละเทศกาลพิเศษ
หากท่านมาเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงวันหยุดเทศกาล ท่านจะมีโอกาสได้ทานอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมของเทศกาลนั้นหรือไม่แน่บางเมนูอาจหาทานได้ตลอดทั้งปีเลยด้วย! นี่เป็นรายชื่ออาหารญี่ปุ่นในเทศกาลพิเศษทั้งหมด 9 อย่างที่เราให้อยากให้ท่านลิ้มลอง!
บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ
หากท่านมาเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงวันหยุดเทศกาลดังต่อไปนี้ ท่านอาจจะอยากทานอาหารจานพิเศษที่เตรียมขึ้นมาเพื่อเทศกาลนั้นๆ โดยเฉพาะ ถึงแม้ว่าสำหรับอาหารบางเมนูท่านจะสามารถพบเห็นของที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้บ้างตามช่วงที่ไม่ใช่วันหยุดเทศกาล แต่ก็มีอาหารบางอย่างที่ท่านไม่สามารถหาทานในช่วงอื่นได้เลยนอกจากช่วงขึ้นปีใหม่อย่าง Osechi Ryouri
1. Osechi Ryouri (ช่วงปีใหม่ 1-3 มกราคม)
PIXTAOsechi Ryouri (御節料理) เป็นอาหารจานพิเศษที่ทานกันในช่วงปีใหม่ โดยคนญี่ปุ่นจะเตรียมอาหารชนิดนี้ไว้ล่วงหน้า ทำให้ไม่จำเป็นต้องทำอาหารในช่วง 3 วันแรกของปี ซึ่งเขาเชื่อกันว่าธรรมเนียมนี้มีขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเสียงดังจากการทำอาหารขณะทักทายเทพเจ้าในช่วงปีใหม่ อาหารแต่ละชนิดจะบรรจุใน Jyubako (ภาชนะพิเศษ) ซึ่งมีความหมายสำคัญและเป็นภาชนะที่หลายคนเชื่อว่าจะนำความสุขและสุขภาพแข็งแรงมาให้กับคนในครอบครัว
2. Zouni (ช่วงปีใหม่)
Hitoshi Taguchi/FlickrZouni (雑煮) หรือ O-zouni เป็นโมจิใส่ผักซึ่งนิยมทานกันในช่วงปีใหม่พร้อมๆ กับ Osechi Ryouri โมจิ Zouni จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนระหว่างฝั่งตะวันตกและตะวันออกของญี่ปุ่น เช่น โตเกียวจะนิยมทำเป็นซุปใสและโมจิเหลี่ยม แต่ฝั่งตะวันตกจะทำเป็นซุปมิโซะและโมจิกลม
3. Nanakusa Gayu (7 มกราคม)
FlickreviewR/Wikimedia Commons Nori Norisa/FlickrNanakusa Gayu (七草粥) นิยมทานกันในเช้าของวันที่ 7 มกราคม Nanakusa แปลว่าสมุนไพร 7 ชนิดและเป็นชื่อของข้าวต้มพร้อมสมุนไพร 7 ชนิด ได้แก่ ผักชีล้อม หูปลาช่อน ต้นคัดวีด หญ้าไก่ ต้นนิปเปิลเวิร์ท เทอร์นิฟ และหัวไชเท้าค่ะ อาหารชนิดนี้ยังจำเป็นต้องเตรียมการพิเศษก่อน 1 คืนเลยทีเดียว นิยมกินกันเพื่ออธิษฐานให้อายุยืนยาวและสุขภาพแข็งแรง โดยเชื่อกันว่าธรรมเนียมนี้เริ่มมีมาตั้งแต่ยุค Heian (794-1185/1192 CE) เลยทีเดียว
4. Kagami Biraki (11 หรือ 20 มกราคม)
midorisyu/FlickrKagami Biraki (鏡開き) หมายถึงการทานโมจิซึ่งเป็นของถวายแด่เทพเจ้าหรือพระพุทธเจ้าช่วงปีใหม่ ทุกคนต่างซาบซึ้งต่อเทพเจ้าหรือพระพุทธเจ้าและทานของถวายเพื่ออธิษฐานให้อายุยืนยาวและสุขภาพแข็งแรง นิยมทานเป็น Zouni หรือ Shiruko ซึ่งหมายถึงโมจิในซุปถั่วแดงนั่นเอง
5. Chirashi zushi (วันเด็กผู้หญิง 3 มีนาคม)
Arashiyama/FlickrChirashi Zushi (ちらし寿司) เป็นข้าวซูชิใส่ท็อปปิ้งหลากหลายชนิด ทั้งนี้ อาหารชนิดนี้ไม่ได้กำหนดไว้สำหรับวันที่ 3 มีนาคม (วันเด็กผู้หญิง) เป็นพิเศษและสามารถทานได้ตลอดปี แม้ว่าสาเหตุที่ทุกคนเริ่มทาน Chirashi Zushi ในวันเด็กผู้หญิงจะไม่ปรากฏแน่ชัดนัก แต่ท็อปปิ้งที่ใช้ก็มีความหมายเป็นมงคล เช่น กุ้งหมายถึงอายุยืนยาว ส่วนถั่วหมายถึงทำงานขยันขันแข็ง
6. Shoujin Ryouri (เทศกาลโอบ้ง 14-15 สิงหาคม)
David Z./FlickrShoujin Ryouri (精進料理) เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยผัก ถั่ว และงา จะไม่มีการใช้เนื้อสัตว์ใดๆ ในอาหารชนิดนี้เพราะศาสนาพุทธไม่สนับสนุนการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตสัตว์ทุกชนิด ทั้งนี้ ไม่มีปรากฏเป็นหลักฐานแน่ชัดว่าทำไมผู้คนถึงนิยมทาน Shoujin Ryouri ช่วงเทศกาลโอบ้งในฤดูร้อน อย่างไรก็ตาม อาหารดังกล่าวถูกจัดขึ้นเพื่อมอบให้แก่วิญญาณของบรรพบุรุษที่มาเยี่ยมเยียนโลกนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว
7. ปลาไหล (Doyo no ushi no hi)
Naotake Murayama/Flickrปลาไหลนิยมทานกันในวัน Doyo no ushi no hi (วันรับประทานปลาไหล) วัน Doyo no ushi no hi (土用の丑の日) จะถูกกำหนดโดยตำแหน่งของพระอาทิตย์ ทำให้วันเวลาแตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยปกติแล้วจะอยู่ในช่วงวันที่ 19 กรกฎาคม - 7 สิงหาคม ธรรมเนียมการกินปลาไหลในวัน Doyou no ushi no hi นั้นเริ่มขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 เป็นที่น่าสนใจว่ามีการระบุไว้ใน Manyoushu (หนังสือรวบรวมบทประพันธ์เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นจากศตวรรษที่ 18) ว่าคนทานอาหารที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการอย่างปลาไหลเพื่อเอาชนะความร้อนระอุในฤดูร้อน
8. ฟักทอง (วันเหมายัน)
uptownyumiko/Flickrฟักทองนิยมทานกันในวันเหมายัน ว่ากันว่าหากทานฟักทองในวันเหมายันแล้วจะไม่เป็นหวัด นี่อาจเป็นเพียงเรื่องเล่าเก่าๆ เท่านั้น ทว่าจริงๆ แล้วฟักทองเต็มไปด้วยวิตามินเอและเบตาคาโรทีน ทำให้เป็นผลไม้ที่ช่วยในการป้องกันโรค นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าสาเหตุที่คนเริ่มทานฟักทองในวันเหมายันนั้นเกิดจากพลังงานด้านลบที่เพิ่มขึ้นในวันเหมายันซึ่งเป็นวันที่มีช่วงกลางวันสั้นที่สุดของปี ดังนั้น คนญี่ปุ่นจึงทานอาหารที่ลงท้ายด้วย "n" (ん) ซึ่งออกเสียงคล้ายคำว่า "Un" (運 แปลว่าโชค) เพื่อนำพาโชคลาภมาให้ นอกจากฟักทองแล้วยังมีอาหารชนิดอื่นๆ ที่นิยมทานอย่างแคร์รอต (Ninjin) และแปะก๊วย (Ginnan) ด้วยค่ะ แต่ฟักทอง (Nankin) เป็นที่นิยมทานมากที่สุด
9. Toshikoshi Soba (วันส่งท้ายปีเก่า)
PIXTAธรรมเนียมการทานโซบะในวันสุดท้ายของปีเริ่มเป็นที่แพร่หลายในยุคเอโดะ (1603-1868 CE) และเป็นธรรมเนียมตั้งแต่นั้นมา จากผลการสำรวจในปี 2012 พบว่าผู้คนกว่า 57.6% ทาน Toshikoshi Soba (年越し蕎麦) ส่วนสาเหตุที่ทานนั้นมาจากความที่โซบะเป็นเส้นที่ขาดง่ายที่สุดในบรรดาเส้นบะหมี่ญี่ปุ่นทั้งหมด ทำให้การทานโซบะเปรียบเสมือนการช่วยทำลายโชคร้ายให้ขาดสิ้นก่อนที่จะเข้าสู่ปีใหม่นั่นเอง
เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่