รู้ไว้ใช่ว่า ! วิธีเข้ารับการรักษาพยาบาลในประเทศญี่ปุ่น

ไอไม่หยุด คอแห้งเป็นกระดาษทราย ดูเหมือนว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากไปหาหมอ แต่ไม่รู้วิธีเข้ารับการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นเลย นี่คือขั้นตอนการเข้ารับการรักษาในญี่ปุ่นสำหรับคนดวงไม่ดีที่เกิดป่วยขึ้นมาในระหว่างท่องเที่ยว มาดูกันเลยว่าคุณต้องทำอย่างไรบ้าง!

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ

เมื่อมาเที่ยวญี่ปุ่นทั้งทีแต่คุณเกิดดวงซวยขาหักแขนหักขึ้นมา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณควรเข้ารับการรักษาแน่ๆ แต่ถ้าคุณพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ล่ะ จะทำอย่างไรดี? ทำใจเย็นๆ ไว้ก่อนแล้วลองอ่านไกด์วิธีการเข้ารับการรักษาพยาบาลนี้ดู

1. โทร 119 ในกรณีที่คุณต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

Ryo FUKAsawa/Flickr

คุณสามารถโทรศัพท์ไปที่เบอร์ 119 ซึ่งเป็นสายด่วนสำหรับบริการรถพยาบาลที่จะพาคุณไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยจะมีการถามถึงที่อยู่และสถานการณ์ของคุณเป็นภาษาญี่ปุ่น ในกรณีที่คุณไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ เราแนะนำให้ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ในสถานที่ที่เกิดเหตุ  

2. โทรหาสายด่วนและเว็บไซต์ต่อไปนี้เพื่อขอข้อมูลที่จำเป็น 

aquaring w/Flickr

สายด่วนและเว็บไซต์ต่อไปนี้จะให้ความช่วยเหลือคุณเป็นภาษาอังกฤษ และให้คำแนะนำว่าคุณควรไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันทีหรือไม่

1) The AMDA International Medical Information Center ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลและโรงพยาบาลที่มีพนักงานที่สามารถพูดอังกฤษได้

โทร: 03-5285-8088 เวลาทำการ: 9:00-17:00 น. จันทร์-ศุกร์

2) Himawari เป็น Search engine สำหรับค้นหาโรงพยาบาลและคลินิกในโตเกียว คุณยังสามารถโทรไปสอบถามถึงโรงพยาบาลและคลินิกที่รองรับภาษาอังกฤษได้อีกด้วย

โทร: 0570-000-911 เวลาทำการ: 24 ชม. ทุกวัน

3) Japan Helpline องค์กรการกุศลที่ให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลตลอด 24 ชม. แก่ชาวต่างชาติที่อยู่ในญี่ปุ่น ตั้งแต่การตอบคำถามง่ายๆ ไปจนถึงเหตุฉุกเฉิน

โทร: 03-5774-0992 เวลาทำการ: 9:00-23:00 น. ทุกวัน

4) Tokyo English Life Life (TELL) ให้บริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์แบบไม่เปิดเผยตัวตนในภาษาอังกฤษ

โทร: 03-5774-0992 เวลาทำการ: 9:00-23:00 น. ทุกวัน

5) International Mental Health Professionals Japan ให้บริการจัดหาจิตแพทย์และผู้ให้คำปรึกษาระดับสากลที่อยู่ในญี่ปุ่น มีการบริการที่รองรับหลากหลายภาษา

3. จะไปโรงพยาบาลได้อย่างไร?

Christian c/Flickr

เว้นจากกรณีที่คุณต้องนั่งรถพยาบาล ในกรณีที่คุณเดินทางไปโรงพยาบาลเป็นครั้งแรกด้วยตัวเอง มีความเป็นไปได้สูงที่คุณจะพบกับคลินิกหรือโรงพยาบาลขนาดเล็ก ซึ่งคลินิกหรือโรงพยาบาลเล็กๆ ตามเมืองเหล่านี้จะถามหาบัตรประกันของคุณ และขอให้คุณทำการกรอกข้อมูลทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานของตัวเอง หากคุณไม่ได้มีอาการที่หนักเอาการมากๆ สถานที่เหล่านี้ก็ถือว่าเพียงพอต่อการรักษาแล้ว

รายชื่อหมอในโตเกียวที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้

4. หากคุณคิดว่าตัวเองมีอาการหนักมาก

หากอาการของคุณร้ายแรงมาก แนะนำให้เรียกรถพยาบาล หรือไม่ก็เดินทางไปยังคลินิกหรือโรงพยาบาลขนาดเล็กก่อน ที่ซึ่งหมอจะเขียนจดหมายแนะนำ (紹介状) ให้กับคุณ เพื่อที่คุณจะสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ในพื้นที่ได้

5. เมื่อหมอรักษาเสร็จแล้วต้องทำอะไรบ้าง?

Tim Wei/Flickr

เมื่อรับการรักษาเสร็จ คุณจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล ซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นมีประกันสุขภาพอยู่ 2 รูปแบบคือ ประกันสุขภาพลูกจ้าง และประกันสุขภาพนานาชาติ หากคุณอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นและทำงานให้กับบริษัทที่ครอบคลุมเรื่องประกัน คุณจะได้รับประกันสุขภาพลูกจ้าง หากคุณอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นแต่ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือนักเรียน ขอแนะนำให้ขึ้นทะเบียนประกันสุขภาพนานาชาติ โดยคุณจำเป็นต้องมีวีซ่าที่ยังเหลืออายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี ประกันสุขภาพเหล่านี้จะให้เงินประกันโดยขึ้นอยู่กับรายได้ของคุณ นอกจากนี้ก็ยังมีประกันเอกชนที่ครอบคลุมการรักษาในบางกรณีที่ประกัน 2 แบบข้างต้นไม่ครอบคลุม อาทิ การรักษาโรคมะเร็ง ฉะนั้นขอแนะนำให้ตรวจสอบนโยบายของโรงพยาบาลก่อนทุกครั้ง เนื่องจากโรงพยาบาลบางแห่งไม่ครอบคลุมประกันจากต่างชาติ หากคุณไม่มีประกันรูปแบบใดเลยที่กล่าวมา คุณไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจ่ายค่ารักษาเอง 100%

6. รับยาที่ไหน?

เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการชำระเงิน คุณจะได้รับใบสั่งยาที่เรียกว่าโชโฮเซน (処方箋) ให้คุณนำใบสั่งยานี้ไปยื่นที่จุดจ่ายยาที่เรียกว่าโจไซยัคเคียคุ (調剤薬局) เพื่อรับยาของคุณ ในกรณีที่เป็นครั้งแรกทางโรงพยาบาลจะให้คุณกรอกข้อมูลทางการแพทย์พื้นฐาน และให้โอคุซุริเทะโจ (お薬手帳) กับคุณ ซึ่งเป็นสมุดเพื่อบอกให้แพทย์และเภสัชกรรู้ว่าคุณกำลังรับยาตัวใดอยู่ อย่าลืมที่จะแสดงบัตรประกันที่จุดนี้ด้วยเช่นกัน และหากคุณจำเป็นต้องมารับยาอีกครั้ง ก็อย่าลืมที่จะพกสมุดโอคุซุริเทะโจมาด้วย

7. โรคตามฤดูกาลในญี่ปุ่นที่ควรระวัง!

typexnick/Flickr

อาหารเป็นพิษเป็นอาการที่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนหรือซึยุ (梅雨) ซึ่งอยู่ในช่วงราวๆ เดือนกรกฎาคม ในช่วงนี้ ฝนจะตกอยู่ตลอดทั้งวัน ทำให้เกิดความชื้นสูง ซึ่งจะส่งผลให้อาหารเสียเร็วมากขึ้น เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ คุณจึงควรทานอาหารให้เสร็จโดยเร็ว และไม่ควรทิ้งอาหารที่ปรุงสุกแล้วไว้บนโต๊ะเป็นระยะเวลานานๆ

ไข้ละอองฟาง หรือ คะฟุนโช (花粉症) พบเห็นได้บ่อยในเดือนเมษายนและพฤษภาคม คุณสามารถหาซื้อยารักษาโรคนี้ได้ตามร้านยาขาย แต่หากคุณต้องการวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ขอแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์โดยตรง

ไข้หวัดใหญ่ มักพบเห็นได้เมื่อเริ่มเข้าสู่หน้าหนาว เริ่มต้นที่เดือนพฤศจิกายน ผู้คนมักป้องกันตัวเองด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แต่ก็ใช่ว่ามันจะได้ผลเสมอไป ในกรณีที่คุณติดไข้หวัดใหญ่ขอแนะนำให้เลี่ยงการไปโรงพยาบาลขนาดใหญ่เนื่องจากการเจอคนป่วยจำนวนมากอาจทำให้คุณติดโรคอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

รับส่วนลดมากมายในญี่ปุ่น ที่นี่!

เกี่ยวกับนักเขียน

tsunagu
tsunagu Japan
นี่คือแอ็คเคาท์ทางการของ tsunagu japan
  • แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ค้นหาร้านอาหาร