รู้ไว้ใช่ว่า ! ทำอย่างไรเมื่อเจอเหตุการณ์ฉุกเฉินในญี่ปุ่น !

การท่องเที่ยวคงหมดสนุกแน่หากต้องเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ ของหาย หรือการเจ็บป่วยกะทันหัน ลองอ่านคำแนะนำเหล่านี้ดูเพราะอาจจะเป็นประโยชน์และช่วยให้คุณจัดการปัญหายามเกิดเหตุฉุกเฉินได้ทันท่วงที!

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ

14188382243_ce2b6002d7_z

cozymax/flickr

เหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างเช่นการถูกขโมยของ ของหาย หรืออุบัติเหตุต่างๆ สามารถทำให้การเดินทางท่องเที่ยวอันสนุกสนานจบลงได้ในพริบตา อุบัติเหตุบนท้องถนนโดยเฉพาะเมื่อคุณขับรถเช่านั้นอาจมีสาเหตุมาจากความไม่คุ้นเคยกับเครื่องหมายจราจรและกฎจราจรที่อาจจะแตกต่างไปจากกฎระเบียบในประเทศของคุณ ส่วนการถูกขโมยของที่ถึงแม้จะไม่ค่อยเกิดขึ้นในญี่ปุ่น แต่ใช่ว่าคุณจะไม่มีโอกาสได้พบเจอมันเลย ทั้งยังมีเรื่องการลืมของหรือของสำคัญ เช่น พาสปอร์ตหาย ให้ต้องระวังอีก ต่อไปนี้จะเป็นคำแนะนำว่าคุณควรปฏิบัติตัวอย่างไรหากตกอยู่ในสถานการณ์คับขันเช่นนี้ 

1.เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น! 

1-A. ถ้าคุณเป็นฝ่ายผิด

4529012942_db44d2c106_z

swat_hk/flickr

หากคุณเป็นฝ่ายผิด คุณจะต้องจ่ายค่าเสียหายซึ่งรวมทั้งค่าสิ่งของและค่ารักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ในที่เกิดเหตุหากมีผู้บาดเจ็บหรือรถพังให้เคลื่อนย้ายไปไว้ยังบริเวณที่ปลอดภัยก่อนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นซ้ำอีก เวลาโทรเรียกรถตำรวจ คุณจะถูกถามถึงรายละเอียด เช่น เวลาและสาเหตุของอุบัติเหตุ ดังนั้นให้จดจำรายละเอียดไม่ว่าจะเป็นเวลาที่เกิดเหตุ บุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือสาเหตุหลักของอุบัติเหตุให้ดี และยืนยันกับทางตำรวจให้ครบถ้วน  

1-b.โทรเรียกรถฉุกเฉินและตำรวจ

5458444696_59aa2b601a_z

ปกติแล้วผู้ก่อเหตุจะต้องเป็นฝ่ายโทรเรียกรถพยาบาลและตำรวจ โดยเฉพาะหากพบว่ามีผู้บาดเจ็บและต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วนให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลทันที หมายเลขสำหรับโทรเรียกรถฉุกเฉิน คือ 119 เมื่อโอเปอเรเตอร์รับสายจะถามว่าเป็นเหตุไฟไหม้หรือต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ให้ตอบว่า คิวคิว (kyuukyuu) หรือเหตุต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะถามถึงสถานที่เกิดเหตุ ให้ตอบให้ชัดเจนว่าอยู่ที่ไหน สิ่งสำคัญคือต้องตั้งสติ พูดช้าๆ และชัดๆ เพื่อให้กระบวนการทุกอย่างรวดเร็วขึ้น ลองศึกษาคู่มือภาษาอังกฤษที่จำเป็นในการโทรเรียกรถฉุกเฉิน 119 ได้ที่ www.city.kitaibaraki.lg.jp

หากมีคู่กรณี คุณจะต้องโทรหาตำรวจด้วยไม่ว่าคุณจะสามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้มากน้อยแค่ไหนก็ตาม นั่นเป็นเพราะการพยายามจัดการสถานการณ์ด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาใครอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เบอร์ที่ใช้โทรหาตำรวจคือ 110 คุณสามารถใช้คำว่า จิโกะ (jiko) เพื่อบอกตำรวจว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จากนั้นตำรวจจะมายังที่เกิดเหตุเพื่อช่วยจัดการสถานการณ์ หากไม่แน่ใจว่าควรโทรหา 110 ดีไหม ให้โทรไปที่ #9110 เพื่อขอคำปรึกษาหรือถามคำถามที่จำเป็น

ถ้าพูดภาษาญี่ปุ่นได้เล็กน้อยหรือพูดไม่ได้เลย คุณอาจจะต้องให้คนที่อยู่ใกล้บริเวณเกิดเหตุและพูดภาษาญี่ปุ่นได้เป็นคนโทร ทั้งนี้การโทรเรียกรถฉุกเฉินจะไม่เสียค่าบริการแต่อย่างใด 

1-c.ติดต่อกับบริษัทประกัน

7089542469_8459804efc_z

Yasunari(康就) Nakamura(中村)/flickr

หลังจากเรียกรถฉุกเฉินแล้วขั้นตอนต่อไปคือการติดต่อบริษัทประกัน บริษัทประกันจะแนะนำว่าคุณต้องดำเนินการอะไรบ้าง คุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านั้นได้ทันที สำหรับการโทรออกนอกประเทศใช้รหัส 010 + รหัสประเทศ + รหัสพื้นที่ + เบอร์โทรศัพท์ ถ้าโทรเข้าเบอร์มือถือให้กด 010 + รหัสประเทศ + เบอร์มือถือ ถ้ารหัสพื้นที่หรือเบอร์มือถือขึ้นต้นด้วยเลข 0 ไม่ต้องเติม 0 เมื่อโทรออก

ดูรายการรหัสประเทศได้ที่นี่: 

www.countrycode.org

หากคุณเช่ารถมา รถเช่าส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับแพ็กเกจประกันภัยทั้งค่าความเสียหายต่อสิ่งของและบุคคล ประกันภัยที่ทำในประเทศมักไม่ครอบคลุมถึงอุบัติเหตุที่เกิดในต่างประเทศ ดังนั้นก่อนเดินทางมาญี่ปุ่นควรหาซื้อประกันภัยการท่องเที่ยวไว้ก่อนจะดีที่สุด ซึ่งบริษัทบัตรเครดิตหลายแห่งก็มีข้อเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยลักษณะนี้อยู่เช่นกัน อย่างไรก็ดี ควรจดเบอร์โทรศัพท์สำคัญเพื่อเอาไว้โทรหาในยามฉุกเฉิน

1-d.ป้องกันเหตุไม่คาดคิด

7734576580_1ab88ecd31_z

Sheng-Ho Yuan/flickr

เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อุบัติเหตุหรือเหตุไม่คาดคิดเลวร้ายไปมากกว่าเดิมด้วยเพราะคุณไม่มีโทรศัพท์อยู่รอบตัวหรือโทรศัพท์ที่มีนั้นไม่สามารถใช้การในประเทศญี่ปุ่นได้ คุณควรเช่าซิมมือถือของญี่ปุ่นหรือเตรียมการลักษณะอื่นที่คล้ายกันไว้ล่วงหน้า อีกทั้งประกันการท่องเที่ยวก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อต้องขับรถเช่าซึ่งมีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้น ประกันภัยบางประเภท เช่น ประกันที่ติดมากับบัตรเครดิต อาจไม่ครอบคลุมถึงค่าเสียหายกรณีเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นคุณจึงควรระมัดระวังและตรวจสอบก่อนเดินทางให้เรียบร้อย

2. เมื่อเกิดอุบัติเหตุและคุณเป็นผู้เคราะห์ร้าย

6203404940_f699ee350c_z

Yasunobu HIRAOKA/flickr

หากคุณเป็นผู้เคราะห์ร้ายจากอุบัติเหตุ วิธีการปฏิบัติตัวก็คล้ายๆ กับกรณีที่คุณเป็นผู้ก่อเหตุในอุบัติเหตุ ถ้าเป็นไปได้ให้โทรเรียกรถฉุกเฉินและตำรวจก่อน สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมรายละเอียดของเหตุการณ์ที่ถูกต้อง เช่น เวลาเกิดเหตุและสภาพการจราจร รวมทั้งข้อมูลของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพราะจะต้องใช้ในการสืบสวนขั้นต่อไป

ถึงแม้จะไม่มีการบาดเจ็บที่มองเห็นได้ แต่อย่าลืมว่าการบาดเจ็บภายในที่มองไม่เห็น เช่น การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ นั้นเกิดขึ้นได้เสมอ เพื่อความปลอดภัยควรไปที่คลินิกเพื่อตรวจร่างกายและให้แพทย์รับรองว่าร่างกายไม่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุจริง เพราะถ้าหากมีการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเกิดขึ้น มูลค่าการชดใช้ค่าเสียหายอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

นอกจากนี้แม้สถานการณ์จะชัดเจนว่าคุณเป็นผู้เคราะห์ร้ายในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แต่คุณก็ควรโทรหาบริษัทประกันของตัวเองทันทีอยู่ดี และอาจจะต้องติดต่อกับทนายทางด้านอุบัติเหตุในบางกรณีขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ช่วงเวลาของการเดินทางมาเพื่อพักผ่อนคือช่วงสถานการณ์ที่แตกต่างจากสิ่งที่คุณพบเจอในชีวิตประจำวันทั่วไป ดังนั้นจึงมีโอกาสที่สถานการณ์ต่างๆ จะกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมากกว่าเดิม! 

3. ถูกขโมยหรือทำของหายระหว่างเดินทางมาญี่ปุ่น !

14091236493_e1e406f966_z

jun560/flickr

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ค่อนข้างเป็นระเบียบและมีอัตราการโจรกรรมต่ำมาก แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะถูกล้วงกระเป๋าได้เสมอ หรือคุณอาจจะทำของสำคัญหล่นหายไประหว่างการเดินทาง หากเป็นกรณีโดนขโมยหรือทำของหายในสถานีรถไฟ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำสถานีได้ทันที หากเหตุเกิดระหว่างการเดินในเมืองก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ป้อมตำรวจแทน ป้อมตำรวจในญี่ปุ่นนั้นหาง่ายมากและส่วนใหญ่จะมีเจ้าหน้าที่ประจำการอยู่เสมอ โดยจะมีตัวอักษรเขียนว่า KOBAN อยู่ด้านหน้า ป้อมส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในสถานที่ที่ผู้คนหนาแน่น เช่น ใกล้กับสถานีรถไฟ เป็นต้น 

เมื่อไปถึงป้อมตำรวจ คุณจะต้องกรอกฟอร์มเพื่อรายงานของสูญหายหรือของที่ถูกขโมย หากทำพาสปอร์ตหาย เอกสารนี้เป็นเอกสารสำคัญที่คุณต้องนำไปยื่นต่อสถานทูตเพื่อขอทำพาสปอร์ตใหม่ นอกจากเอกสารนี้แล้วคุณอาจต้องใช้รูปถ่ายด้วย เพื่อป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้น ทางออกที่ดีที่สุดคือการพยายามเก็บรักษาพาสปอร์ตเอาไว้ให้ดีที่สุด และควรหาข้อมูลที่ตั้งของสถานทูตประเทศไทยในเมืองที่คุณจะไปเตรียมไว้ นอกจากนี้อย่าลืมพกรูปถ่ายพาสปอร์ตไว้กับตัวเสมอเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

4. การเจ็บป่วยระหว่างเดินทางท่องเที่ยว

4-A. อาการป่วยหนัก

3037667093_d3202426d1_z

kanegen/flickr

ถ้าอาการเจ็บป่วยของคุณหรือเพื่อนร่วมทางเข้าขั้นหนักหน่วงต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ให้ทำตามคำแนะนำแรกสุด คือ รีบโทรเรียกรถฉุกเฉิน หากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือบนภูเขา รถฉุกเฉินอาจต้องใช้เวลาในการเดินทางมากกว่าปกติ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการพยายามดูแลรักษาร่างกายทั้งของตนเองและเพื่อนร่วมเดินทางทุกคนให้ดีอยู่เสมอ 

4-B. อาการป่วยไม่หนักมาก

6659252203_785e4ca7ab_z

astromango2009/flickr

อย่าเมินเฉยต่ออาการป่วยถึงแม้จะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรงมากก็ตาม คุณสามารถตรวจร่างกายเบื้องต้นที่คลินิกได้ เมื่อเข้าไปที่คลินิกแล้วคุณจะได้รับฟอร์มสำหรับกรอกเพื่อถามอาการ ซึ่งมีคลินิกจำนวนไม่มากที่จะมีฟอร์มนี้ในหลายๆ ภาษา ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรไปกับบุคคลที่สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้จะดีที่สุด

รายชื่อคลินิกที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ในโตเกียว

expatsguide.jp

นอกจากนี้ เมื่อไปถึงคลินิก คุณจะถูกถามข้อมูลเกี่ยวกับประกันด้วยแน่นอน ประกันท่องเที่ยวบางโปรแกรมจะครอบคลุมถึงค่ารักษาพยาบาลที่คลินิกในญี่ปุ่นด้วย ดังนั้นควรศึกษารายละเอียดและรับทราบข้อมูลเหล่านี้ก่อนการเดินทาง

4-C. เตรียมพร้อมรักษาร่างกายให้แข็งแรงตลอดการเดินทาง

8987249118_58c72f4d50_z

Takashi Nakajima/flickr

การต้องมานั่งจัดการกับอาการป่วยระหว่างการท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและเสียเวลาอันมีค่าโดยใช่เหตุ แถมการหาซื้อยาในต่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะความไม่เข้าใจทางภาษาหรือหน้าตาของสินค้าที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้นการพกยาสามัญ เช่น ยาแก้ปวดหัว ยาลดไข้ ยาแก้ปวดท้อง ไปด้วยเสมอ จะช่วยให้คุณจัดการกับอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ได้ด้วยตัวเอง แต่การรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอคงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

รับส่วนลดมากมายในญี่ปุ่น ที่นี่!

เกี่ยวกับนักเขียน

tsunagu
tsunagu Japan
นี่คือแอ็คเคาท์ทางการของ tsunagu japan
  • แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ค้นหาร้านอาหาร