เที่ยวญี่ปุ่นไม่ต้องกลัวหลง! รวมศัพท์น่ารู้เมื่อต้องถามทางเป็นภาษาญี่ปุ่น
เวลาที่คุณไปเที่ยวที่ไหนเป็นครั้งแรก คุณก็อาจจะหลงทางหรือเจอกับปัญหาในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทาง เที่ยวญี่ปุ่นก็เช่นกัน แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะบทความนี้ได้รวบรวมคำศัพท์และประโยคสั้นๆ บางส่วน ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์เหล่านั้น! แค่จำไปใช้ รับรองว่าคนฟังจะเข้าใจในทันที! เตรียมจดก่อนเริ่มทริปของคุณได้เลย!
บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ
นี่คือรายละเอียดอธิบายประโยคหรือวลีที่ใช้ในวีดีโอ และคำศัพท์เฉพาะที่คุณควรจำให้ขึ้นใจ คุณสามารถย้อนกลับมาดูรายละเอียดเหล่านี้ได้ทุกเมื่อก่อนเดินทาง!
"Toire wa doko desuka?" "ห้องน้ำอยู่ที่ไหนคะ/ครับ?"
すみません、トイレはどこですか? Sumimasen Toire wa doko desuka
ขอโทษค่ะ/ครับ ห้องน้ำอยู่ที่ไหนคะ/ครับ ?
あっちです。 Acchi desu
ทางโน้นค่ะ/ครับ
ありがとうございます。 Arigato gozaimasu
ขอบคุณค่ะ/ครับ
หากคุณเดินทางท่องเที่ยวแล้วต้องการเข้าห้องน้ำแต่หาห้องน้ำไม่เจอสักแห่ง ลองถามใครสักคนเป็นภาษาญี่ปุ่นดู หากคุณอยู่บนสถานีรถไฟหรืออยู่ในร้านค้า คุณสามารถถามเจ้าหน้าที่หรือพนักงานได้ หรือหากคุณกำลังเดินอยู่บนถนน คุณก็สามารถที่จะถามคนที่เดินผ่านไปมาได้
すみません/Sumimasen/ "ขอโทษค่ะ/ครับ"
หากเพิ่มคำว่า "sumimasen" ไว้หน้าประโยค ก็จะทำให้ประโยคของคุณมีความสุภาพมากขึ้นกว่าการถามขึ้นมาเลยในทันที คุณสามารถใช้วลีนี้ได้ในหลายๆรูปแบบ เช่น ใช้เป็นคำขอโทษในกรณีที่คุณเดินชนกับใครสักคน หรือใช้ในเวลาที่คุณต้องการเรียกพนักงานร้านค้า เป็นต้น
トイレ/Toire/ห้องน้ำ
จริงๆแล้วคำนี้เป็นการออกเสียงของคำศัพท์ "toilet" แบบญี่ปุ่น หรือคุณจะพูดว่า "ote-arai" ก็ได้เช่นกัน
どこ/Doko/ที่ไหน
คุณสามารถพูดว่า "dochira" ได้เช่นกัน แต่คำว่า "doko" นั้นใช้งานได้ง่ายกว่า แต่ถ้าคุณพูดแค่คำว่า "doko" ก็อาจจะฟังดูรุนแรงและหยาบคายเล็กน้อย จึงควรที่จะเพิ่ม "desu ka?" เข้าไปที่ท้ายประโยคเป็น "doko desu ka?" จะทำให้สุภาพยิ่งขึ้น
あっち/Acchi/ทางโน้น
สามารถใช้คำนี้ได้พร้อมๆกับชี้ไปยังทิศทางที่คุณพูดถึง
ありがとうございます/Arigatou gozaimasu/"ขอบคุณค่ะ/ครับ"
หากจะใช้แค่คำว่า "Arigatou" เดี่ยวๆ ก็เพียงพอที่จะสื่อความหมายของคำว่าขอบคุณ แต่หากคุณต้องการที่จะแสดงความขอบคุณต่อคนแปลกหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือ ควรที่จะเพิ่ม "gozaimasu" เข้าไปข้างท้ายให้เป็น "arigatou gozaimasu" ด้วยเพื่อความสุภาพยิ่งขึ้น
"Shibuyaeki wa doko desuka?" "สถานีชิบุย่าอยู่ที่ไหนคะ/ครับ?"
すみません、渋谷駅はどこですか? Sumimasen Shibuyaeki wa doko desuka
ขอโทษค่ะ/ครับ สถานีชิบุย่าอยู่ที่ไหนคะ/ครับ?
この道を真っ直ぐ行くと、あります。 Kono michi wo massuguikuto arimasu
เดินตรงไปตามถนนนี้ก็จะเจอค่ะ/ครับ
ありがとうございます。 Arigato gozaimasu
ขอบคุณค่ะ/ครับ
ไม่ว่าคุณจะตรวจดูบนโทรศัพท์มือถือกี่ครั้ง คุณก็ยังมีโอกาสหลงทางในที่ที่ไม่เคยไปมาก่อน โดยเฉพาะสถานีต่างๆ โดยในวีดีโอนี้ใช้สถานีชิบูย่าเป็นตัวอย่าง แต่หากคุณนำชื่อสถานีอื่นที่คุณต้องการไปใส่แทนคำว่า "ชิบุย่า" (เช่น "Suidobashi" หรือ "ฮาราจุกุ") คุณก็จะสามารถใช้คำถามแบบเดียวกันในการถามถึงสถานีนั้นๆได้ ดังนั้น ควรจำประโยคนี้ให้ขึ้นใจเลยทีเดียว!
この/Kono/นี้
道/Michi/ถนน
คุณอาจจะเจอกับคำศัพท์ "dori" ที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าถนนมากกว่า แต่คำว่า "michi" ก็เป็นคำที่เข้าใจได้โดยทั่วไปเช่นกัน
駅/Eki/สถานี
真っ直ぐ/Massugu/ตรงไป
行く/Iku/ไป
นอกเหนือจากคำว่า "ไป" แล้ว คุณอาจจะได้ยินคำกริยาอื่นๆ เช่น "aruku" (เดิน) "aruite iku" (เดินไป) "susumu" (ไปต่อ) "susunde iku" (ไปข้างหน้า) ซึ่งโดยรวมแล้วมีความหมายเหมือนกัน
あります/Arimasu/มี
คำนี้เป็นคำสุภาพของคำว่า "aru" ที่แปลว่ามี ซึ่งคุณก็อาจจะได้ยินคนทั่วไปพูดเพียงแค่ว่า "aru" เช่นกัน
"Hachiko wa doko desuka" "ลานรูปปั้นฮะจิโกอยู่ที่ไหนคะ/ครับ?"
すみません、ハチ公はどこですか? Sumimasen Hachiko wa doko desuka
ขอโทษค่ะ/ครับ ลานรูปปั้นฮะจิโกอยู่ที่ไหนคะ/ครับ?
あそこを右に曲がると、あります。 Asoko wo migi ni magaru to arimasu
เลี้ยวขวาตรงโน้นก็จะเจอค่ะ/ครับ
ありがとうございます。 Arigato gozaimasu
ขอบคุณค่ะ/ครับ
ลานรูปปั้นฮะจิโกเป็นจุดนัดพบชื่อดังในชิบุย่า ซึ่งอยู่ติดกับทางข้าม 5 แยกอันเลื่องชื่อที่นักท่องเที่ยวต่างก็มักจะไปรวมตัวกัน ประโยคนี้ค่อนข้างยาว แต่หากคุณรู้คำศัพท์หลักๆ ความยาวของประโยคก็ไม่เป็นปัญหาเลยทีเดียว
ハチ公/Hachiko/ลานรูปปั้นฮะจิโก
รูปปั้นฮะจิโกนั้น เป็นรูปปั้นที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงสุนัขผู้ซื่อสัตย์ที่ชื่อ ฮะจิ ที่คอยเฝ้ารอเจ้านายของมันอยู่เป็นเวลานานกว่า 10 ปีที่สถานีชิบุย่า แม้ว่าเจ้านายของมันจะเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งต่อมา ลานรูปปั้นนี้ได้กลายเป็นจุดนับพบที่มีชื่อเสียง จึงทำให้มีคนพลุกพล่านอยู่เสมอ
あそこ/Asoko/ตรงโน้น
เช่นเดียวกับคำว่า "acchi" ใช้คำนี้พร้อมกับชี้ไปยังทิศทางที่พูดถึง ซึ่ง"acchi"มักจะถูกใช้ในการบอกทิศทาง แต่ "asoko" มักจะใช้ในการบอกสถานที่ที่เฉพาะเจาะจง
右/Migi/ขวา
ซ้าย คือ "hidari"
曲がる/Magaru/เลี้ยว
คุณอาจจะได้ยินคำนี้ในรูปของคำกริยาที่ผันแล้ว เช่น "magareba" (ถ้าคุณเลี้ยว) หรือ "magarimasu" (คำสุภาพ)
"Ichiban chikai konbini wa doko desuka" ร้านสะดวกซื้อที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ไหนคะ/ครับ?"
すみません、一番近いコンビニはどこですか? Sumimasen Ichiban chikai konbini wa doko desuka
ขอโทษค่ะ/ครับ ร้านสะดวกซื้อที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ไหนคะ/ครับ?
その交差点を、左に曲がって進むとあります。 Sono kosaten wo hidari ni magatte susumu to arimasu
เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกนั้นแล้วเดินต่อไปก็จะเจอค่ะ/ครับ
ありがとうございます。 Arigato gozaimasu
ขอบคุณค่ะ/ครับ
ร้านสะดวกซื้อที่ญี่ปุ่นส่วนมากจะเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง จึงเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวมาก หลักในการใช้ประโยคนี้ก็คือ การถามถึงร้านที่อยู่ใกล้ที่สุด และคุณอาจจะใช้คำพูดเกี่ยวกับสถานที่อื่นๆ ภายในร้านสะดวกซื้อ เช่น ห้องน้ำ หรือ ธนาคาร ("ginko") ได้ตามความจำเป็น
一番近い/Ichiban chikai/ใกล้ที่สุด
จริงๆแล้ว "Ichiban" และ "chikai" เป็นคำศัพท์คนละคำ โดย "ichiban" มีความหมายที่หลากหลาย เช่น "ที่หนึ่ง" และ "ที่สุด" ซึ่งในกรณีนี้ใช้ร่วมกับคำว่า "Chikai" ที่แปลว่า "ใกล้" จึงให้ความหมายว่า "ที่สุด" ของคำว่า "ใกล้ที่สุด"
コンビニ/Konbini/ร้านสะดวกซื้อ
ร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่จะเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง แต่ร้านตามชานเมืองบางร้านอาจไม่เปิดตลอดเวลา ต้องระวังตรงจุดนี้ด้วย
そこ/Soko/ตรงนั้น
"Soko" และ "asoko" นั้นฟังดูคล้ายกัน แต่คำว่า"soko"หมายถึงสถานที่ที่ใกล้กว่า "asoko" นั่นเอง
交差点/Kousaten/สี่แยก
左/Hidari/ซ้าย
คำตรงข้ามของคำนี้ก็คือคำว่า "migi" นั่นเอง! แน่นอนว่าคุณจะต้องใช้คำเหล่านี้บ่อยครั้ง อย่าลืมจำให้ขึ้นใจเลยทีเดียว
曲がって/Magatte/เลี้ยว
คำนี้เป็นคำผันมาจากคำกริยา "magaru" ซึ่งคุณก็อาจจะได้ยินวลี "magatte kudasai" (กรุณาเลี้ยว) แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะใช้ตามนี้
進む/Susumu/ไปต่อ
คุณอาจจะได้ยินคำว่า "susunde iku" (ไปข้างหน้า) "aruku" (เดิน) "aruite iku" (เดินไป) แต่ทุกคำก็ให้ความหมายเดียวกัน
อาจจะดูเหมือนว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ยาก แต่จริงๆ แล้ว เพียงแค่คุณรู้คำศัพท์หลักๆ ที่สำคัญในสิ่งที่ต้องการถามก็เพียงพอ และแต่ต้องระวังด้วยว่าสถานการณ์ข้างต้นคือขณะเดินบนถนน หากคุณกำลังขับรถก็อาจจะไม่ต้องใช้คำว่า "aruku" (เดิน) หรือ "aruite iku" (เดินไป) และใช้คำศัพท์ชุดอื่นนั่นเอง
เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่