[อัพเดท 2023] รวมข้อมูลบัตร IC Card ของญี่ปุ่น Suica Passmo และวิธีเพิ่มการ์ดลงในมือถือเมื่อไปเที่ยวญี่ปุ่น!!

ระบบรถไฟของญี่ปุ่นนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลก หากคุณต้องการเดินทางด้วยรถไฟอย่างคุ้มค่า แต่รู้สึกว่า JR Pass มีราคาสูงและระยะเวลาการใช้งานที่สั้นไป บัตร IC Card ก็อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะกับคุณ ซึ่งปัจจุบันบัตร Suica และ Passmo สามารถสมัครใช้งานผ่านมือถือได้แล้ว บัตรดังกล่าวนี้มีให้เลือกอยู่หลากหลาย ช่วยให้เดินทางในเมืองใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ทั้งยังสามารถใช้กับบริการอื่นๆ นอกจากรถไฟได้ด้วย ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำ IC Card ชนิดต่างๆ พร้อมวิธีซื้อและใช้งาน รวมถึงบริการอื่นๆ ที่รองรับการชำระเงินด้วยบัตรใบเล็กๆ เหล่านี้

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ

คูปอง ดองกี้

IC Card คืออะไร ?

IC Card ย่อมาจาก "Integrated Circuit Card" หรือบัตรวงจรรวม เป็นเทคโนโยลีประเภทสมาร์ทการ์ดที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในยุคปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น บัตรเครดิตรุ่นใหม่ๆ ที่มักฝังชิป IC ไว้เสมอ

เจ้า IC Card นี้สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่าง ตั้งแต่การระบุตัวตนไปถึงการรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับ IC Card ของญี่ปุ่นที่ใช้ในการเดินทางรถโดยสารต่างๆ ตั้งแต่รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน ไปจนถึงรถบัสสาธารณะ

*** ณ ปัจจุบัน IC Card ไม่ว่าจะเป็น Suica หรือ Passmo หยุดให้บริการสำหรับการออกบัตรใหม่ (แบบไม่ลงทะเบียน) ก็คือบัตรที่เราสามารถกดซื้อได้ตามตู้ทั่วไปนั้นจะไม่สามารถซื้อได้อีกแล้ว เนื่องมากจากชิปที่ใช้ผลิตบัตรนั้นขาดแคลนจากกำลังผลิตที่ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามท่านสามารถใช้ Mobile Suica/Passmo ได้แล้วในปัจจุบัน ดาวน์โหลดง่ายๆ ผ่านสมาร์ทโฟน สะดวกแถมยังชาร์จเงินเข้าบัตรได้แบบง่ายๆ อีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมจะอธิบายอยู่ในบทความนี้ ลองอ่านกันดูนะ!

วิธีใช้งาน IC Card ของญี่ปุ่น

IC Card ของญี่ปุ่นนั้นเป็นเทคโนโลยีแบบไร้สัมผัส ในกรณีที่ใช้กับการเดินทางโดยรถไฟ ให้คุณมองหาเครื่องอ่าน IC ที่อยู่ขวามือของประตูตรวจตั๋ว และยื่นบัตร IC Card ไปอยู่เหนือเครื่องอ่าน ตัวเครื่องจะส่งเสียง ปิ๊ป เพื่อแจ้งว่าการชำระเงินเสร็จสิ้น พร้อมแสดงยอดเงินคงเหลือในบัตรขึ้นบนหน้าจอ และเปิดประตูให้คุณผ่านเข้าไปได้ ในส่วนของการเดินทางโดยรถบัส เครื่องอ่านดังกล่าวจะถูกติดตั้งไว้ที่บริเวณประตูทางเข้าข้างๆ ที่นั่งคนขับแทน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขึ้นรถไฟในญี่ปุ่น สามารถอ่านต่อได้ที่ 10 ข้อควรรู้เมื่อขึ้นรถไฟในญี่ปุ่น

วิธีการซื้อและเติมเงิน IC Card

เราสามารถหาซื้อบัตร IC Card เป็นของตัวเองได้ง่ายๆ จากตู้ขายตั๋วอัตโนมัติตามสถานีรถไฟสายหลักๆ การออกบัตรครั้งแรกจะมีการเรียกเก็บค่าประกันบัตรไว้เพื่อป้องกันไม่ให้บัตรถูกใช้แล้วทิ้งอย่างสิ้นเปลือง ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของบัตร Suica หากคุณซื้อบัตรราคา 2,000 เยน เงิน 500 เยนก็จะถูกเรียกเก็บไว้เป็นค่าประกัน และเหลือยอดเงินที่สามารถใช้งานได้ไว้ 1,500 เยน

หากคุณไม่ต้องการเก็บบัตร IC Card ไว้หลังจากที่ท่องเที่ยวเสร็จแล้ว ก็สามารถคืนบัตรได้ที่เคาน์เตอร์บริการของสถานี ในขั้นตอนนี้คุณจะได้รับเงินค่าประกันบัตรคืน รวมถึงยอดเงินที่คงเหลืออยู่ในบัตร อย่างไรก็ตาม บัตรบางชนิดจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมในการคืนยอดเงินคงเหลือด้วยเช่นกัน หากยอดเงินในบัตรเหลือไม่ถึงค่าธรรมเนียมดังกล่าว คุณก็จะได้ค่าประกันบัตรกลับมาเพียงอย่างเดียว

ในส่วนของการเติมเงินนั้นก็ง่ายมาก เพียงแค่ใส่บัตร IC Card เข้าไปในตู้ขายตั๋ว และเลือกเมนูสำหรับเติมเงิน โดยทั่วไปแล้วบัตร 1 ใบจะสามารถมียอดเงินได้สูงสุด 20,000 เยน บัตรเหล่านี้สามารถเติมเงินได้กับทุกตู้ทั่วประเทศ โดยไม่ต้องคำนึงถึงชนิดของบัตรและพื้นที่ในการออกบัตร ยกตัวอย่างเช่น หากเราซื้อบัตรใบใหม่มาจากจังหวัดทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น ก็สามารถนำบัตรใบนั้นมาใช้และเติมเงินในจังหวัดทางฝั่งตะวันตกได้เช่นกัน

นอกจากนี้ บัตร IC Card บางประภทยังมาพร้อมกับเวอร์ชั่นพิเศษสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยเฉพาะ มีข้อดีเป็นสิทธิพิเศษมากมายที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว บัตรเหล่านี้ไม่สามารถซื้อได้ตามตู้ขายตั๋วทั่วไป หากต้องการซื้อก็จำเป็นต้องมองหาเคาน์เตอร์ให้บริการ หรือไม่ก็ตู้จำหน่ายเฉพาะตัวของบัตรนั้นๆ

Klook.com

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ประเภทของบัตร IC Card ในญี่ปุ่น

บัตร IC Card ในญี่ปุ่นมีอยู่มากมาย แต่ละบัตรก็มีบริษัทผู้ให้บริการที่แตกต่างกันไป ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำบัตร IC Card หลักๆ 10 แบบที่เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดในประเทศญี่ปุ่น

แม้ว่าบัตรเหล่านี้จะสามารถใช้แทนกันได้ แต่บัตรแต่ละประเภทก็มาพร้อมกับส่วนลดและสิทธิพิเศษต่างๆ ในพื้นที่ของตัวเอง รวมถึงอาจมีเงื่อนไขการใช้งานที่แตกต่างกันเล็กน้อย ดังนั้นจึงควรศึกษาให้ดีก่อนเริ่มใช้งาน

Suica (ละแวกโตเกียว นีงาตะ และเซนได)

คำว่า Suica นั้นย่อมาจาก "Super Urban Intelligent Card" ในขณะเดียวกันก็เป็นคำพ้องเสียงที่แปลว่าแตงโมในภาษาญี่ปุ่น สัญลักษณ์และตัวบัตรจึงถูกออกแบบโดยสีเขียวเช่นเดียวกับเปลือกแตงโม เป็นบัตร IC Card สำหรับรถไฟสาย JR East ที่เราสามารถหาได้ทั่วไปจากตู้ขายบัตรในโตเกียว 

นอกจากนี้ ในเดือนกันยายน ปี 2019 ได้มีการเปิดการจำหน่ายบัตร "Welcome Suica" ซึ่งเป็นบัตร Suica เวอร์ชั่นพิเศษสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งมีอายุใช้งาน 28 วัน และไม่มีค่าธรรมเนียมในการเปิดบัตร บัตรประเภทนี้สามารถใช้งานได้เหมือนบัตร Suica แบบปกติทุกประการ เนื่องจากสามารถใช้ซื้อตั๋วลดราคาได้ด้วย จึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่กำลังมองหาวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

บัตรชนิดนี้สามารถหาซื้อได้จากเครื่องจำหน่ายบัตร Welcome Suica บริเวณสนามบินนาริตะและฮาเนดะ หรือไม่ก็จากเคาน์เตอร์ของ JR East ที่ตั้งอยู่ตามสถานีใหญ่ๆ ทั่วกรุงโตเกียว

PASMO (ละแวกโตเกียว)

Pasmo เป็นบัตร IC Card ที่อยู่ในความดูแลของบริษัทรถไฟฟ้าใต้ดิน Tokyo Metro ก่อนที่จะมีการรวมระบบให้ IC Card สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งหมดเหมือนในทุกวันนี้ Pasmo เป็นบัตรเพียงประเภทเดียวที่มีสามารถใช้กับบริการรถไฟใต้ดินและรถบัสสาธารณะในโตเกียว ในขณะที่ Suica สามารถใช้ได้กับบริการรถไฟสาย JR เท่านั้น 

เช่นเดียวกับ Suica บัตร PASMO เองก็มีเวอร์ชั่นพิเศษสำหรับนักท่องเที่ยวอยู่เช่นกัน โดยมีชื่อว่า "Pasmo Passport" เป็นบัตรที่มีอายุการใช้งาน 28 วัน และไม่มีค่าธรรมเนียมในการเปิดบัตรใหม่ สามารถหาซื้อได้ที่สถานบินนาริตะและฮาเนดะ หรือไม่ก็เคาน์เตอร์ขายบัตรโดยสารของรถไฟ Tokyo Metro ตามสถานีใหญ่ๆ โดยมีราคาอยู่ที่ 2,000 เยน (รวมค่าประกันบัตร 500 เยน)

ICOCA (ละแวกโอซาก้า ฮิโรชิม่า และโอคายาม่า)

เป็นบัตร IC Card สำหรับรถไฟสาย JR West ในภูมิภาคคันไซ มีเวอร์ชั่นพิเศษสำหรับนักท่องเที่ยวที่เรียกว่า "Kansai One Pass" ที่จะมอบส่วนลดถึง 20% และสิทธิพิเศษต่างๆ สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวในคันไซ เช่น ส่วนลดค่าเข้าชมปราสาทฮิเมจิ สิทธิในการรับโปสการ์ดฟรีจากพิพิธภัณฑ์มังงะเกียวโต และอื่นๆ อีกมากมาย บัตร Kansai One Pass มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 3,000 เยน (รวมค่าประกัน 500 เยน) แตกต่างกับบัตรของฝั่ง JR East ตรงที่ไม่มีวันหมดอายุ จึงสามารถนำมาใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ 

บัตร Kansai One Pass นี้สามารถหาซื้อได้ที่สนามบินคันไซ และตามสถานีรถไฟสายหลักๆ ของเกียวโต โอซาก้า และโกเบ

PiTaPa (ละแวกโอซาก้า เกียวโต นารา นาโกย่า และชิซูโอกะ)

Pitapa เป็นบัตร IC Card แบบเรียกเก็บเงินภายหลังที่รองรับทั้งการเดินทางและช็อปปิ้ง เนื่องจากจำเป็นต้องผูกเข้ากับบัญชีธนาคารของญี่ปุ่น ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่นอกญี่ปุ่นไม่สามารถใช้งานได้ แต่ก็มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องเติมเงินให้ยุ่งยาก และรองรับการเดินทางด้วยรถไฟและรถบัสหลากหลายสายในเขตคันไซ สำหรับบริการที่ไม่รองรับการชำระเงินแบบเรียกเก็บภายหลัง ก็สามารถเติมเงินเข้าบัตรและใช้งานแบบบัตร IC Card อื่นๆ ได้เช่นกัน

TOICA และ manaca (ละแวกนาโกย่าและชิซูโอกะ)

TOICA เป็นบัตรของบริษัท JR Tokai ที่ครอบคลุมจังหวัดนาโกย่าและบางส่วนของจังหวัดชิซูโอกะ ส่วน manaca ก็เป็นบัตรของรถไฟและรถบัสสายอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของบริษัท JR ความพิเศษของบัตร 2 ชนิดนี้คือ เป็นบัตรที่รองรับการชำระเงินขาออก แม้ว่าจะมียอดเงินเหลืออยู่ในบัตรเพียง 0 เยนก็สามารถเดินเข้าไปในสถานีได้ เมื่อเดินทางถึงเป้าหมายก็ต้องเติมเงินให้เพียงพอต่อค่าโดยสารก่อนถึงจะออกจากสถานีได้

Klook.com

SUGOCA, nimoca และ Hayakaken (ละแวกฟุกุโอกะ คุมาโมโตะ คาโกชิม่า โออิตะ และนางาซากิ)

SUGOCA เป็นบัตรของบริษัท JR Kyushu ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดฟุกุโอกะ คุมาโมโตะ คาโกชิม่า โออิตะ และนางาซากิ ในขณะที่ nimoca เป็นบัตรในเครือของบริษัทรถไฟสาย Nishitesu Railroad ที่อยู่ในจังหวัดฟุกุโอกะและในเมืองใหญ่ๆ ของคิวชูและฮาโกดาเตะ ส่วน Hayakaken นั้นจะเป็นบัตรภายใต้การดูแลของบริษัทรถไฟฟ้าใต้ดิน Fukuoka Subway บัตรทั้งหมดที่กล่าวมานี้รองรับการชำระเงินแบบขาออกด้วยเช่นกัน โดยมีข้อจำกัดว่าต้องมีเงินอยู่ในบัตรอย่างน้อย 10 เยน

Kitaca (ละแวกซัปโปโร)

เป็นบัตรของบริษัท JR Hokkaido ที่สามารถใช้ได้กับรถโดยสารทุกรูปแบบในพื้นที่ซัปโปโร มีจุดเด่นเป็นเวอร์ชั่นพิเศษที่สามารถใช้เป็นบัตรเครดิตได้ด้วย หนึ่งในบริการบัตรเครดิตที่สามารถเลือกได้ก็คือ AEON จึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่ช็อปปิ้งอยู่เป็นประจำ และไม่ต้องการพกบัตรหลายๆ ใบให้ยุ่งยาก

ตามที่เคยได้กล่าวไว้ข้างต้น IC Card เหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้ในทุกพื้นที่ นอกจากสิทธิพิเศษเฉพาะตัวแล้ว บัตรแต่ละใบก็อาจมีเงื่อนไขการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่นในกรณีของบัตร ICOCA หากเราเดินทางในระยะที่เกินกว่า 200 กิโลเมตร บัตรก็จะไม่รองรับการชำระเงินผ่านเครื่องอ่านอัตโนมัติ และจำเป็นต้องนำบัตรไปติดต่อชำระเงินกับนายสถานีแทน
นอกจากนี้ การสะสมบัตร IC Card จากภูมิภาคต่างๆ เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกก็น่าสนใจเช่นกัน สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลดีๆ ในการเดินทางท่องเที่ยวญี่ปุ่นด้วยรถไฟ ก็สามารถตามไปอ่านได้ในบทความ สุดยอดคำแนะนำวิธีการใช้ 'รถไฟ' ในญี่ปุ่นแบบครบจบในหนึ่งเดียว ! 

Klook.com

วิธีใช้สมาร์ทโฟนแทนบัตร Suica หรือ PASMO

หากคุณมีสมาร์ทโฟนของ Android ที่รองรับระบบ Tap to Pay หรือสมาร์ทโฟนของ Apple ตั้งแต่รุ่น iPhone 8 ขึ้นไป ก็สามารถใช้อุปกรณ์ของคุณแทนบัตร Suica หรือ PASMO ได้เช่นกัน สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชั่นวอลเล็ทของสมาร์ทโฟนดังกล่าว โดยมีขั้นตอนดังนี้

สำหรับ iPhone
1) ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Apple Pay จาก App Store
2) เข้าแอปพลิเคชั่น Apple Pay และเลือก "Add"
2) เลือก "Transit Card"
3) เลือกว่าจะใช้บริการ Suica หรือ PASMO จากนั้นเลือก "Continue"
4) ใส่จำนวนเงินที่คุณต้องการชาร์จเข้าบัตร จากนั้นเลือก "Add"
5) อ่านข้อตกลงและยืนยันการทำรายการ

สำหรับ Android
1) ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Google Wallet จาก Play Store
2) เข้า Google Wallet และเลือก "Add to Wallet" ที่อยู่มุมขวาล่างของหน้าจอ
3) เลือก "e-money" จากนั้นก็เลือกว่าจะใช้บริการ Suica หรือ PASMO
4) เลือก "New anonymous card"
5) อ่านข้อตกลงและยืนยันการทำรายการ

ในส่วนของการเติมเงินเข้าบัตรในสมาร์ทโฟนนั้นนอกจากจะสามารถเติมผ่านบัตรเครดิตที่ผูกไว้กับแอปพลิเคชั่นวอลเล็ทแล้ว ยังสามารถเติมด้วยเงินสดผ่านตู้(ที่รองรับ) ที่มีอยู่ตามสถานีต่างๆ ได้อีกด้วย

Klook.com

การใช้ IC Card เพื่อซื้อของและอื่นๆ

นอกจากการเดินทางโดยรถไฟและรถบัสที่เราคุ้นเคยกันดีแล้ว บัตร IC Card ยังสามารถใช้ซื้อของและทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ หากมีสัญลักษณ์ IC อยู่ก็หมายความว่ารองรับการชำระเงินรูปแบบนี้ทั้งนั้น

ตัวอย่างหนึ่งที่ใกล้ตัวก็คือ การใช้บัตรเพื่อซื้อสินค้าจากตู้ขายของอัตโนมัติตามชานชาลารถไฟ แค่เลือกรายการเครื่องดื่มแล้วแตะบัตรเข้ากับเครื่องอ่าน เครื่องดื่มที่ต้องการก็จะหล่นลงมาจากตู้อย่างรวดเร็ว

บัตร IC Card นี้ยังสามารถใช้ได้กับร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ๆ ทั่วญี่ปุ่น รวมถึงร้านค้า ร้านอาหาร และร้านให้บริการต่างๆ จำนวนของร้านที่รองรับก็มีอยู่อย่างมหาศาล ถึงขนาดที่สามารถเที่ยวญี่ปุ่นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องพกเงินสดสักเยนเดียว

ล็อกเกอร์ตามสถานีรถไฟก็เป็นบริการแสนสะดวกที่รองรับบัตร IC Card เช่นกัน เนื่องจากล็อกเกอร์เหล่านี้มักรับเงินสดเป็นเหรียญ 100 กับ 500 เยนเท่านั้น การใช้ IC Card จึงช่วยตัดปัญหาในการเตรียมเหรียญได้ อย่างไรก็ตาม ล็อกเกอร์ทุกแห่งไม่ได้รองรับการชำระเงินรูปแบบนี้ ก่อนใช้บริการจึงควรมองหาสัญลักษณ์ IC ไว้ด้วย

ส่งท้าย

ถึงแม้ว่าคุณจะมีโอกาสมาเที่ยวญี่ปุ่นแค่ในระยะสั้นๆ การซื้อบัตร IC Card ก็เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าแน่นอน เพราะนอกจากจะใช้ในการเดินทางแล้ว ก็ยังสามารถใช้ซื้อสินค้าต่างๆ ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องมาวุ่นวายกับการนับเหรียญที่เราไม่คุ้นเคยหรือตรวจสอบเงินทอนให้เสียเวลา แค่เติมเงินเข้าบัตรก็จะสามารถท่องเที่ยวในญี่ปุ่นได้อย่างอิสระ

หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าแล้วจะทำอย่างไรกับบัตร IC Card หลังเที่ยวเสร็จแล้วดี อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าคุณสามารถทำเรื่องคืนบัตรเพื่อรับเงินประกันจำนวน 500 เยนคืนได้ หรือจะเก็บบัตรไว้เป็นที่ระลึกก็ได้เช่นกัน หากคุณวางแผนที่จะมาเที่ยวญี่ปุ่นอีกในอนาคต ก็สามารถเลือกที่จะเก็บไว้ใช้ต่อได้ บัตร IC Card ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หากภายใน 10 ปีมีการใช้งานอย่างน้อยเพียง 1 ครั้ง ตัวบัตรก็จะไม่มีวันหมดอายุ

หากคุณต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IC Card และระบบใหม่ๆ ของ Suica และ Pasmo สามารถเข้าไปติดตามรายละเอียดต่างๆ แบบเจาะลึกได้ในบทความ ทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับระบบสะสมแต้มรูปแบบใหม่ของ Tokyo Metro และ JR Suica และหากอยากเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับรถไฟหัวกระสุนชินคันเซ็นของญี่ปุ่น ก็สามารถอ่านต่อได้ที่ คู่มือฉบับสมบูรณ์เกี่ยวกับชินคันเซ็น รถไฟหัวกระสุนของญี่ปุ่น

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

รับส่วนลดมากมายในญี่ปุ่น ที่นี่!

เกี่ยวกับนักเขียน

Jack
Jack Xavier
Jack Xavier มีความหลงใหลในการค้นพบและแนะนำวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้โลกได้รับรู้ หลังจากอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นมาเกือบทศวรรษ เดินทางไปยังเกือบ 47 จังหวัดของญี่ปุ่น และรู้จักถนนหนทางในโตเกียวดีกว่าชาวโตเกียวส่วนใหญ่ ด้วยทัศนคติที่ว่า "ยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกมากมาย" เกี่ยวกับญี่ปุ่น จึงมีความอยากรู้อยากเห็นและตื่นเต้นอยู่เสมอที่จะแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นกับทุกคนที่สนใจ
  • แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ค้นหาร้านอาหาร