แนะนำมารยาทบนโต๊ะอาหารญี่ปุ่นที่ทุกคนควรรู้

มารยาทบนโต๊ะอาหารของญี่ปุ่นอาจดูเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆ คนที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน แต่หากคุณเข้าใจแล้ว คุณจะพบว่ามารยาทเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องพื้นฐานง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้ แม้ในการทานอาหารแบบเป็นกันเองกับเหล่าเพื่อนฝูงหรือคนสนิทก็ตาม ขอแนะนำให้คุณลองเรียนรู้จากบทความนี้ได้เลย !

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับมารยาทบนโต๊ะอาหารญี่ปุ่น นี่คือคำอธิบายแต่ละอย่างที่คุณพึงทำในระหว่างมื้ออาหาร !

พูด “อิทะดะคิมัส” ก่อนเริ่มมื้ออาหาร

ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปที่คนญี่ปุ่นจะพูด “อิทะดะคิมัส (いただきます)” ก่อนเริ่มลงมือรับประทานอาหาร ความหมายตามอักษรแปลว่า “ขอรับมื้ออาหาร” และมีตำนานและเรื่องราวหลากหลายฉบับที่อธิบายที่มาที่ไปของวลีนี้ แต่โดยปกติวลีนี้ถือเป็นวลีสำหรับแสดงความรู้สึกขอบคุณต่อเชฟ ต่อเหล่าเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงวัตถุดิบในจาน และต่อเหล่าวัตถุดิบที่ได้สละชีวิตมาเป็นอาหารให้เราได้ทานนั่นเอง

หากคุณอยู่ในร้านอาหาร ไม่เป็นอะไรหากคุณไม่พูดวลีนี้เสียงดังจนโต๊ะรอบข้างได้ยิน แต่หากคุณไปรับประทานอาหารที่บ้านคนอื่น คุณควรพูดให้เสียงดังพอที่คนปรุงอาหารหรือเจ้าของบ้านได้ยิน เพราะการไม่พูดถือเป็นเรื่องเสียมารยาทอย่างหนึ่งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ถ้าตะเกียบเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง ให้เอาตะเกียบออกมาจากซองก่อนเป็นอันดับแรก

ตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้งจะมาพร้อมกับซองกระดาษที่ห่อหุ้มอยู่เสมอ ให้หยิบตะเกียบออกจากซองก่อน

หลังจากนั้น แยกตะเกียบออกจากกันตามแนวยาว

ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่ถูกต้อง คุณควรถือตะเกียบในแนวนอนแล้วแยกเกียบออกตามแนวยาวของตะเกียบในระดับที่สูงกว่าเข่าของคุณ

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

อย่าแยกตะเกียบออกตามแนวขวาง (โดยตั้งตะเกียบชี้ขึ้นหรือลง)

แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่การแยกตะเกียบออกตามแนวขวางโดยตั้งตะเกียบชี้ขึ้นหรือลงถือเป็นการเสียมารยาท เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะมือของคุณอาจไปกระทบคนที่นั่งอยู่ข้างๆ ได้หากคุณแยกตะเกียบในแนวนี้

Klook.com

การนำตะเกียบมาถูกันเพื่อกำจัดเสี้ยนไม้ถือเป็นการเสียมารยาท

การนำตะเกียบมาถูกันเพื่อกำจัดเสี้ยนไม้ถือเป็นการกระทำที่แสดงต่อพนักงานร้านว่าตะเกียบที่ร้านใช้นั้นเป็นตะเกียบราคาถูก หากตะเกียบของคุณมีเสี้ยนไม้อยู่จริงๆ ให้หยิบออกด้วยท่าทางที่ไม่สะดุดตา

หากทางร้านไม่มีที่วางตะเกียบ ให้พับซองกระดาษของตะเกียบเพื่อทดแทน

การวางตะเกียบบนชามข้าวถือเป็นเรื่องที่ผิดธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับชาวญี่ปุ่น ดังนั้นหากทางร้านไม่มีที่วางตะเกียบเตรียมไว้ให้บนโต๊ะอาหาร ให้คุณพับซองกระดาษห่อตะเกียบเป็นที่วางด้วยตัวคุณเอง

1. พับซองทบด้วยความยาวในสาม

2. พับครึ่งอีกที เพื่อให้เกิดยอดแหลมขึ้นสำหรับวางปลายตะเกียบ

ใช้ซองกระดาษที่คุณพับเป็นที่วางปลายตะเกียบระหว่างมื้ออาหารของคุณ

อย่าวางตะเกียบลงบนโต๊ะหรือบนผ้ารองจานชามตรงๆ

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

หากคุณทานข้าว ให้ถือชามข้าวตรงหน้าคุณด้วยมืออีกข้างที่ไม่ได้ใช้ถือตะเกียบ

หากคุณรับประทานเมนูข้าว ให้คุณใช้มือข้างหนึ่งถือชามข้าวขึ้นมาตรงหน้า การวางชามข้าวบนโต๊ะแล้วรับประทานถือเป็นมารยาทที่ไม่ถูกต้อง

ถ้วยใส่ซุปก็มีหลักปฏิบัติเช่นเดียวกัน

หากคุณรับประทานซุป เช่น มิโสะซุป คุณก็ควรถือถ้วยซุปขึ้นมาด้วยมือข้างที่ไม่ได้ใช้ถือตะเกียบเช่นกัน โดยเมื่อยกขึ้นมา ให้ใช้ตะเกียบเขี่ยวัตถุดิบอื่นๆ ออกเพื่อให้คุณสามารถซดน้ำซุปได้ สำหรับส่วนประกอบอื่นๆ ให้ใช้ตะเกียบรับประทาน

ที่จริงแล้ว ยังมีกฎอื่นๆ อีกสำหรับการรับประทานอาหารแบบเป็นทางการ แต่สำหรับการรับประทานอาหารแบบเป็นกันเอง วิธีปฏิบัติเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทำ

รับประทานอาหารในจานให้หมด

ร้านอาหารส่วนมากในญี่ปุ่นจะไม่อนุญาตให้คุณห่ออาหารกลับไปรับประทานต่อที่บ้าน ด้วยเหตุผลทางสุขอนามัย แม้ว่าคุณไม่สามารถทานได้หมดจริงๆ ก็ไม่ต้องฝืนทาน แต่อย่างน้อยก็ควรพยายามทานให้หมด คุณสามารถบอกกับพนักงานตอนสั่งอาหารได้ว่าต้องการอาหารไซส์ขนาดไหน โดยเฉพาะปริมาณข้าวที่คุณสามารถขอปริมาณน้อยได้

เมื่อรับประทานอาหารเสร็จให้ใส่ตะเกียบกลับลงไปในซองแล้วพับปลายซองทบกลับลงมา

หลังจากที่คุณรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้ใส่ตะเกียบกลับลงไปในซองและพับปลายซองความยาวประมาณนึ่งในสามทบกลับมา เพื่อให้พนักงานรู้ว่าเป็นตะเกียบที่ถูกใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม หากคุณมีที่วางตะเกียบ คุณสามารถวางตะเกียบทิ้งไว้บนที่วางตะเกียบได้เลย

พูด “โกะจิโซซามะเดชิตะ” หลังจบมื้ออาหาร​​​​​​​

“โกะจิโซะซามะเดชิตะ (ごちそうさまでした)” แปลตามตัวอักษรได้ว่า “ขอบคุณสำหรับมื้ออาหาร” โดยคำว่า “จิโซ(馳走)” หมายถึง “การเลี้ยงอาหาร” เป็นคำที่ประกอบด้วยตัวอักษรคันจิสองตัวที่มีความหมายถึง “การวิ่ง” ทั้งคู่ เป็นการบ่งบอกโดยนัยว่ามื้ออาหารนี้ได้มาจากการลงน้ำพักน้ำแรงในการวิ่งเพื่อทำงานอย่างยากลำบากของผู้คนหลากหลายฝ่าย ส่วนคำว่า “โกะ” และ “ซามะ” เป็นรูปยกย่องสำหรับทำให้วลีฟังดูสุภาพเมื่อพูดขอบคุณผู้ที่ลงน้ำพักน้ำแรงเพื่อให้ได้อาหารมื้อนี้มา ดังนั้นจึงควรพูด “โกะจิโซะซามะเดชิตะ” ด้วยความขอบคุณและซาบซึ้ง

คุณอาจจะเห็นคนญี่ปุ่นบางคุณพูดวลี “อิทะดะคิมัส” และ “โกะจิโซะซามะเดชิตะ” พร้อมพนมมือคล้ายกับการไหว้ขอพร แต่การพนมมือนี้ไม่ถือเป็นสิ่งบังคับ เพราะเป็นเพียงแนวปฏิบัติของบางพื้นที่เท่านั้น การพูด “โกะจิโซะซามะเดชิตะ” กับพนักงานร้านเมื่อคุณเดินออกจากร้านถือเป็นอีกหนึ่งมารยาทที่แสดงถึงความขอบคุณเช่นกัน

 

 

เราอยากให้คุณได้ลองปรับใช้มารยาทและธรรมเนียมปฏิบัติพื้นฐานเหล่านี้เมื่อคุณไปทานอาหารในญี่ปุ่น แต่ไม่ควรลืมว่าธรรมเนียมเหล่านี้เป็นธรรมเนียมที่เหมาะกับการทานอาหารแบบไม่เป็นทางการเท่านั้น หากคุณไปทานที่ร้านซูชิระดับสูงหรือคอร์สอาหารแบบไคเซกิ คุณอาจต้องปฏิบัติด้วยมารยาทและธรรมเนียมปฏิบัติที่มีรายละเอียดมากกว่านี้

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

รับส่วนลดมากมายในญี่ปุ่น ที่นี่!

เกี่ยวกับนักเขียน

tsunagu
tsunagu Japan
นี่คือแอ็คเคาท์ทางการของ tsunagu japan
  • แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ค้นหาร้านอาหาร