รวมภาพญี่ปุ่นก่อน-หลังโควิด19ระบาด แยกชิบูย่าไร้ผู้คนเป็นอย่างไร!?

โรคโควิด19ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก ส่งผลให้หลายล้านคนต้องติดเชื้อ และอีกหลายสิบล้านคนที่ต้องยกเลิกแผนการท่องเที่ยว และอีกหลายพันล้านคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในสถานการณ์ล็อกดาวน์ แต่มาตรการ Social Distance ของญี่ปุ่นกลับมีลักษณะเป็นการขอความร่วมมือเสียมากกว่า ประชากรญี่ปุ่นได้รับคำแนะนำให้อย่าออกจากบ้านหากไม่จำเป็นจริงๆ แน่นอนว่าส่งผลให้เมืองใหญ่และสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังทั่วญี่ปุ่นเงียบเหงาไปตามๆ กัน เราจะพาคุณไปดูกันว่าสถานที่ยอดฮิตในโตเกียว เกียวโต โอซาก้า และเมืองดังๆ ของญี่ปุ่น เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในระหว่างวิกฤตการณ์โควิด 19 นี้

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ

โตเกียว

<สนามบินนาริตะ> ได้ยินเสียงสะท้อนของฝีเท้าตัวเอง

ก่อนการแพร่ระบาด สนามบินนาริตะเป็นประตูสู่โตเกียวที่มีผู้ใช้บริการกว่า 120,000 คนต่อวัน แต่เมื่อโควิด19 เริ่มแพร่ระบาดไปในระดับโลก จีนได้แบนกรุ๊ปทัวร์ไม่ให้เดินทางไปญี่ปุ่น จากนั้นไม่นานประเทศอื่นๆ ก็เริ่มออกมาตรการในทำนองเดียวกัน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวขาเข้าลดลงไปกว่า 93% ในเดือนมีนาคม โดยนักท่องเที่ยวจากจีนลดลงไปกว่า 98.5% เลยทีเดียว

มาดูกันว่าสนามบินมีสภาพอย่างไรในเวลาปกติ

และนี่คือภาพของสนามบินในปัจจุบัน

<ชิบูย่า> แยกโด่งดังแต่เงียบเหงาไร้ผู้คน

เมื่อไม่นานมานี้การแพร่ระบาดของไวรัสในญี่ปุ่นได้รุนแรงขึ้น รัฐบาลจึงออกนโยบายเพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนกักตัวเองอยู่บ้าน ส่งผลให้ย่านที่เคยคึกคักกลับเงียบเหงาจนน่าตกใจ ด้านล่างนี้คือภาพของแยกชิบูย่าอันโด่งดังในโตเกียว ปกติแล้วจะคึกคักอยู่ตลอดแม้ในวันธรรมดา แต่ปัจจุบันกลับเงียบเป็นป่าช้าถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลากลางวันก็ตาม

<กินซ่า> ร้านค้าในย่านแฟชั่นพากันหยุดทำการ

ที่กินซ่า ย่านช็อปปิ้งชั้นแนวหน้าของโตเกียว ก็มีสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน

หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้คือ ร้านสรรพสินค้าภายในตัวเมือง เช่น Mitsukoshi และ Isetan ได้ถูกระบุเป็นสถานบริการที่ไม่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และได้รับการขอความร่วมมือให้ปิดร้านเป็นการชั่วคราวภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

ผลคือผู้คนยิ่งออกจากบ้านกันน้อยเข้าไปอีก สามารถเห็นถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจนจาก 2 ภาพด้านล่างนี้

ไม่เพียงแต่ร้านสะดวกซื้อและคาเฟ่เท่านั้นที่ต้องปรับเปลี่ยนเวลาทำการ พิพิธภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ก็ปิดตัวลงชั่วคราวเช่นกันเพื่อช่วยลดความชันของกราฟ โดยคุณสามารถเช็กได้จากรายการคร่าวๆ ของสถานที่ทั่วญี่ปุ่นที่หยุดทำการลง

<อาซากุสะ> ถนนช็อปปิ้งย้อนยุคที่แทบไม่มีร้านเปิด

วัดเซนโจจิในย่านอาซากุสะเป็นทั้งวัดที่เก่าแก่ที่สุดและมีผู้คนมาเยี่ยมชมมากที่สุดในโตเกียว เฉลี่ยแล้วมีผู้มาเยี่ยมชมถึง 30 ล้านคนต่อปี แต่ตัวเลขดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่จะหดหายลงในปีนี้ ด้านล่างนี้คือภาพของถนนช็อปปิ้งนากามิเสะในช่วงเวลาปกติและในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามีหลายร้านที่ดึงประตูเหล็กม้วนลงมาปิดไว้

<สวนสาธารณะอุเอโนะ> ซากุระเบ่งบานอย่างโดดเดี่ยว

อีกหนึ่งเรื่องที่น่าเสียดายคือการระบาดในครั้งนี้ไปทับซ้อนกับฤดูชมซากุระของญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ระหว่างกลางเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน การ "ฮานามิ" หรือปิกนิกใต้ต้นซากุระ สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้วเป็นเหมือนกับกิจกรรมประจำปีที่บ่งบอกถึงการสิ้นสุดของฤดูหนาวและเริ่มฤดูใบไม้ผลิ แน่นอนว่ากิจกรรมฮานามินั้นขัดกับนโยบาย Social Distance อย่างชัดเจน แต่ชาวญี่ปุ่นหลายคนก็ยังพยายามไปรวมตัวกันอยู่ดี เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว สวนบางสวนได้กันพื้นที่ปิกนิกด้วยเชือกเพื่อห้ามคนเข้า ถือว่าเป็นมาตรการที่เด็ดขาดมากเลยทีเดียว

2 ภาพด้านล่างนี้เป็นภาพของสวนสาธารณะอุเอโนะในโตเกียว ภาพหนึ่งจากปี 2018 และอีกภาพหนึ่งจากปี 2020 นี้ (ป้ายประกาศทางซ้ายมือของภาพด้านล่างเป็นข้อความจากผู้ดูแล มีเนื้อหาแจ้งยกเลิกการฮานามิเนื่องจากโควิด 19)

เกียวโต

Klook.com

<เนินนิเน็นซากะและวัดคิโยมิสึเดระ> โล่งจนเห็นหินปูพื้น

ไม่ใช่เพียงแค่โตเกียวเท่านั้น การล้มตัวลงของธุรกิจการท่องเที่ยวต่างชาติในครั้งนี้ยังสร้างความเสียหายให้กับเกียวโตอย่างมหาศาลเช่นกัน ในเดือนกุมภาพันธ์ยอดจองโรงแรมลดลงถึงกว่า 54% ที่เห็นอยู่นี้คือเนินนิเน็นซากะ เนินที่นำทางสู่วัดคิโยมิสึเดระ (ภาพบนเป็นภาพจากเดือนมีนาคม 2018)

<ป่าไผ่อาราชิยามะ> โดดเดี่ยวท่ามกลางความเงียบสงบ

อีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวยอดนิยมของเกียวโต ป่าไผ่อาราชิยามะ สถานที่แห่งทิวทัศน์อันสงบสุขแบบญี่ปุ่น และเป็นจุดถ่ายรูปยอดนิยมสุดๆ แม้การลดตัวลงของนักท่องเที่ยวจะทำให้เหมาะแก่การจับภาพความสงบและความสวยงามของมัน แต่เราก็ไม่ขอแนะนำเป็นอย่างยิ่ง!

แน่นอนว่าสถานการณ์นี้ทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวของเกียวโตต้องตกที่นั่งลำบาก ถึงขนาดที่เมื่อต้นปีทางเกียวโตได้ออกแคมเปญใหม่ในชื่อ "อาราชิยามะที่ว่างเปล่า" โดยใช้ป่าที่ว่างเปล่าเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว แม้ว่าในตอนนี้จะไม่เหมาะที่จะแวะไป แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนับสนุนมากๆ เมื่อทุกอย่างคลี่คลายลงจนปลอดภัยที่จะท่องเที่ยวอีกครั้ง

โอซาก้า

<โดทงโบริ> ถนนและคลองแสนคึกคักที่ไม่คึกคักอีกต่อไป

ย่านโดทงโบริใกล้กับนัมบะเป็นย่านสุดฮิตของโอซาก้าที่โดยปกติแล้วมักคึกคักไปด้วยบาร์ ร้านอาหาร และโรงหนังนานาประเภท เรื่องที่น่าเศร้าคือ โอซาก้านับว่าเป็นพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโควิด 19 มากเป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น ส่งผลให้ย่านที่เคยครึกครื้นนี้กลายเป็นเมืองร้าง จนแถบไม่มีผู้คนเดินอยู่ให้เห็นเลยทีเดียว

ชื่อ "โดทงโบริ" นั้นหมายถึงคลองแคบๆ ภาพของฝูงชนที่เดินตามริมคลองแต่งแต้มด้วยแสงสีจากสองฝั่งนั้นดูคล้ายคลึงกับ Times Square จัดว่าเป็นจุดหมายยอดฮิตอันดับหนึ่งของเมืองเลยทีเดียว แม้ว่าในปัจจุบันเหล่าแสงสีนี้ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่ก็มีผู้คนน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเหมือนเทียบกับก่อนเหตุการณ์การระบาดของโรคโควิด19

<สถานีโอซาก้า> รถไฟมาตามเวลา แต่ไม่มีคนขึ้น

สถานีโอซาก้า (หรือสถานีอุเมดะ) เป็นศูนย์การคมนาคมหลักของเมือง ในขณะเดียวกันก็เป็นอาคารสถานีที่อลังการที่สุดในญี่ปุ่น โดยมีหลังคากระจกขนาดใหญ่ที่สูงหลายชั้น และทางเดินที่สามารถรับชมภาพของชานชาลาได้อย่างทั่วถึง

JR West ได้ประกาศในกลางเดือนเมษายนว่ามียอดผู้ใช้บริการลดลงถึง 88% ในวันหยุดสุดสัปดาห์ และมีผู้คนเดินในพื้นที่ลดลงถึง 93% ตัวเลขนี้รุนแรงกว่าสถานีหลักอื่นๆ ในญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าการขอความร่วมมือให้อยู่บ้านโดยรัฐบาล แม้ไม่ได้เป็นการบังคับ แต่ก็มีผู้ปฏิบัติตามเป็นจำนวนมาก

สถานการณ์ในญี่ปุ่นร้ายแรงขนาดนั้นเลยรจริงหรือ? หากเป็นจริงแล้วรัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง? เราได้เขียนบทความที่สามารถตอบข้อสงสัยพื้นฐานนี้ไว้ในการป้องกันตัวเองจากโควิด 19 ในญี่ปุ่น

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ซัปโปโร

<ซูซูกิโนะ> ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นครั้งที่สอง

ซูซูกิโนะเป็นย่านสถานบันเทิงหลักของซัปโปโร เมืองหลวงของฮอกไกโด ฮอกไกโดนับว่าเป็นศูนย์กลางแห่งแรกของการแพร่ระบาดโควิด 19 ในญี่ปุ่น และเป็นพื้นที่แรกที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ในจุดหนึ่งสถานการณ์ดูเหมือนจะทุเลาลง แต่เมื่อจำนวนผู้ป่วยได้พุ่งตัวสูงขึ้นทั่วประเทศในปลายเดือนมีนาคม ฮอกไกโดจึงตัดสินใจที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นอีกครั้ง

Klook.com

แม้แต่ระบบขนส่งก็ได้รับความเสียหายจากโควิด19

เมื่อนักท่องเที่ยวโดยรวมมีจำนวนลดลง จึงไม่น่าแปลกใจที่ระบบการขนส่งแทบจะว่างเปล่า จำนวนผู้ใช้บริการชินคันเซ็นฝั่งตะวันออกของโตเกียวลดลงถึง 60-80% สถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ก็มีให้เห็นทั่วญี่ปุ่นเช่นกัน

หากคุณไปใช้บริการชินคันเซ็นในตอนนี้ คุณอาจจะได้นั่งครองทั้งตู้เลยก็ได้! ...หรืออาจจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเหล่าผู้ให้บริการได้เริ่มยกเลิกเที่ยวรถที่มีคนใช้บริการน้อยลงเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้

ญี่ปุ่นและโควิด19

แม้ว่าความว่างเปล่าของเหล่าสถานที่ท่องเที่ยวที่เคยคึกคักจะดูมีเสน่ห์จนอดใจไม่ไหว แต่คุณก็ไม่ควรยอมแพ้ การท่องเที่ยวถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ไวรัสกระจายตัวจากจังหวัดหนึ่งไปสู่อีกจังหวัด ทางรัฐเองก็มุ่งมั่นที่จะลดการสัมผัสระหว่างบุคคลลงถึง 80% เพื่อยับยั้งไม่ให้ไวรัสแพร่กระจายไปได้มากกว่านี้ ยิ่งเราสามารถเข้าใกล้ตัวเลขนี้ได้มากเท่าไร สถานการณ์ฉุกเฉินในญี่ปุ่นก็จะสั้นลง เมืองต่างๆ ก็จะกลับมาคึกคักเหมือนเดิมเร็วมากขึ้นเท่านั้น

 

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

รับส่วนลดมากมายในญี่ปุ่น ที่นี่!

เกี่ยวกับนักเขียน

Koji
Koji Shiromoto
  • แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ค้นหาร้านอาหาร