"ปลา Ara ตุ๋น" เมนูเด็ดเมือง Karazu Kunchi จังหวัดซากะ โดยพ่อค้าแห่งชุมชนริมปราสาท

ในปีค.ศ. 2016 ทาง UNESCO ได้ทำการประกาศให้ "เทศกาลหามเกี้ยว Karazu Kunchi" และ "เทศกาลรำลึกของเกี้ยว ธงประดับและร้านรวง" ของจังหวัดซากะ ภูมิภาคคิวชู เป็นมรดกโลกที่จับต้องไม่ได้ในสาขาวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น และยังได้รับการขนานนามและเป็นที่รู้จักในฐานะเทศกาลของลูกผู้ชายอีกด้วย ในทางฝั่งของเหล่าสุภาพสตรีเองก็มีการแสดงความขอบคุณแก่เหล่าลูกค้าโดยการจัดเตรียมอาหารท้องถิ่นของ Kunchi เอาไว้ต้อนรับ วันนี้จึงขอแนะนำอาหารประจำท้องถิ่น ปลา Ara ตุ๋น ที่คุณไม่ควรพลาด!

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ

เทศกาลฤดูใบไม้ร่วง Shuki Reidai Matsuri ที่ผู้คนต่างตั้งหน้าตั้งตารอ

Karazu Kunchi คือ เทศกาลใหญ่ประจำฤดูใบไม้ร่วง Shuki Reidai Matsuri ที่จัดขึ้นในศาลเจ้า Karazu Jinja ในเมือง อำเภอคาราสึ จังหวัดซากะ โดยมีผู้เข้าร่วมงานถึง 500,000 คน ซึ่งงานจะเริ่มต้นวันที่ 2 มกราคม จะเป็นการจัดให้ชมขบวนเกี้ยว Yoiyama (宵山) วันที่ 3 จะเป็นการแห่บูชาเทพเจ้าและวันที่ 4 ไปจนถึงวันรุ่งขึ้น ก่อนจะเข้าสู้ฤดูหนาวอย่างเต็มตัวนั้น เหล่าผู้คนท้องถิ่นในคาราสึเองนั้นต่างก็เฝ้ารอเทศกาลใหญ่ที่สุดของเมืองซึ่งจัดเพียงปีละครั้งนี้อย่างใจจดใจจ่อ

คำว่า Kunchi นั้นมีที่มาจากอักษรคันจิ "供日 ที่แปลว่าวันสักการะ (หรือ 九日 ที่แปลว่าเก้าวัน)" โดยเป็นการสักการะแสดงความขอบคุณสำหรับพืชผลที่เก็บเกี่ยวมาได้ คำนี้เป็นภาษาถิ่นทางเหนือของฝั่งคิวชู ซึ่งนอกเหนือจากจังหวัดซากะแล้ว ยังมีจังหวัดนากาซากิซึ่งจัด Nagasaki Kunchi เป็นเทศกาลใหญ่อีกที่หนึ่งด้วยเช่นกัน

"เทศกาลแห่เกี้ยว Karazu Kunchi" ได้รับการประกาศเป็นสมบัติประจำชาติสาขาวัฒนธรรมท้องถิ่นในปีค.ศ.1980

เกี้ยวขนาดมหึมาที่ช่วยกันแห่ไปตามเมือง เพื่อขอขมาและสักการะบูชาเทพเจ้า

ช่วงที่พีคที่สุดของงานเทศกาลนี้อยู่ในวันที่ 3 ซึ่งเหล่าคนหามเกี้ยวได้ตั้งขบวนแห่ไปยังจุดต่างๆ เพื่อแสดงความเคารพต่อเทพเจ้า โดยทางคุณ Maegawa Shuso และคุณ Uchida  Matsuo ซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมคนแห่เกี้ยวแห่ง Karazu ได้ให้ข้อมูลไว้ว่าเทศกาลสักการะ Karazu Kunchi นี้จัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1663 โดยมีเหล่าพ่อค้าแม่ขายที่เป็นผู้ริเริ่มกิจการการค้าในแถบริมปราสาท มีความต้องการพัฒนาให้เมืองนี้เป็นเมืองแห่งการค้า จึงได้มีการทำการสักการะศาลเจ้า Karazu Jinja ในช่วงเทศกาลฤดูใบไม้ร่วงเพื่อขอพรให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในการค้าขายตั้งแต่โบราณสืบทอดกันมา

โดยลักษณะการจัดงานแบบปัจจุบันนั้นเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1819 เริ่มจากการหามเกี้ยวสิงโตแดง (赤獅子-Akashishi) นำหน้าสักการะบูชาเทพเจ้าแห่งศาลเจ้า Karazu Jinja ที่เมือง Katanamachi เกี้ยวที่เก่าแก่ที่สุดของที่นี่จึงมีลักษณะเป็นสิงโตที่มีใบหน้าเป็นสีแดง หลังจากนั้นเป็นต้นมาเป็นระยะเวลา 57 ปี ร้านใหญ่ตามเมืองต่างๆ ทั้ง Zaiki-cho, Sakanaya-cho และ Komeya-cho ต่างก็เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างเกี้ยวประจำเมืองของตัวเองขึ้นมาอีกทั้งหมดรวม 15 หลัง เพื่อมาเข้าร่วมขบวนแห่สักการะเทพเจ้า (ภายหลังมีเกี้ยวสูญหายไป 1 หลัง) ที่เกี้ยวมีการประดับประดาไปด้วยกระดาษเงินกระดาษทองดูสง่าสวยงาม

ซึ่งแต่ละเมืองต่างก็ตั้งใจทำให้เกี้ยวออกมาสวยงามดูดีเป็นเอกลักษณ์ตามแบบเฉพาะตัวของตนเอง เช่น เกี้ยวของเมือง Komeya-cho ก็เป็นรูปจำลองของกัปปะกำลังดื่มสุรา และรูปหมวกซามูไร Minamoto no Yoshimitsu หรือเมือง Kako-cho ที่มีเกี้ยวที่ตั้งชื่อว่า Shachi โดยมีความสูงสูงสุดถึง  6.5 เมตร น้ำหนักเกินกว่า 3 ตัน

ตัวเกี้ยวนั้นถูกสร้างมาราว 200 ปีและมีการบูรณะซ่อมแซมโดยช่างฝีมือท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น จากมือสู่มือทำให้ยังคงสีสันอันสดใสสวยงามเอาไว้จนถึงปัจจุบัน สำหรับเกี้ยวที่ใช้กำลังคนมากๆ ก็อาจจะมีหนุ่มๆ ช่วยกันหามถึง 400 คน แสดงพลังลูกผู้ชายให้เหล่าผู้คนได้เห็นกันอย่างเต็มตาอีกด้วย

สิงโตแดงที่เริ่มนำมาแห่สักการะเทพเจ้าในปีค.ศ.1819 ส่วนตั้งแต่ปีค.ศ. 1824 ได้มีสิงโตเขียวเพิ่มเข้ามา (青獅子-Aoshishi)

อาหารท้องถิ่นฝีมือสตรีแห่ง Kunchi ที่มีโอกาสลิ้มรสเพียง 2 วันเท่านั้น

ทางฝั่งสุภาพสตรีนั้นก็มีเวทีให้แสดงฝีมือในด้านการปรุงอาหารประจำถิ่นเช่นกัน เมื่อผู้ชายออกไปโชว์พลังในงานเทศกาลแล้วสาวๆ ที่อยู่บ้านก็มีหน้าที่ในการจัดเตรียมอาหารชุดใหญ่เอาไว้ โดยจะมีการเชิญชวนผู้มีพระคุณมารับประทานอาหารที่บ้าน ซึ่งเป็นประเพณีที่ไม่สามารถหาได้ในพื้นที่อื่นๆ ในวันที่ 3 และวันที่ 4 นั้นจะเป็นการเชิญญาติๆ แขกชั้นผู้ใหญ่ และเหล่าคู่ค้าต่างๆ เข้ามารับประทานอาหารที่บ้าน สำหรับบ้านที่มีคนรู้จักเยอะๆ นั้นอาจจะมีแขกถึง 300 คนเลยทีเดียว ว่ากันว่าเจ้าบ้านและญาติสาวๆ ที่มาร่วมงานจะร่วมแรงร่วมใจกันอดหลับอดนอนเพื่อเตรียมอาหารกันล่วงหน้าเป็นสัปดาห์

อาหารนั้นไม่ได้มีการกำหนดเมนูอย่างชัดเจนก็จริง แต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาได้มีอาหารที่ต้องทำโชว์ในฐานะร้านใหญ่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ปลา Ara ตุ๋น" ซึ่งปลาชนิดนี้ถือเป็นของดีของอ่าว Genkainada และจะถูกคัดสรรพิเศษมาเฉพาะตัวใหญ่ๆ ที่มีขนาดราว 1 เมตรเท่านั้น ภายในท้องปลาจะมีการยัดไส้หัวไชเท้าและไข่ต้ม ปรุงรสด้วยโชยุ เหล้าญี่ปุ่นและน้ำตาล โดยนำไปตุ๋นและเคี่ยวนานถึง 1 วัน

สำหรับแขกที่ได้รับเชิญนั้นจะมีธรรมเนียมปฏิบัติในการแสดงความขอบคุณโดยการนำเหล้ามาฝาก กล่าวขอบคุณแล้วรีบหมุนเวียนให้แขกเหรื่ออื่นๆ ได้ผลัดกันเข้ามาทักทายเจ้าของงาน นอกจากนี้คุณ Maegawa และคุณ Uchida ยังย้ำอีกว่าคนที่จะได้รับเชิญนั้นต้องเป็นผู้ที่รู้จักกัน เช่น คู่เจรจาค้าขาย หรือเพื่อนฝูงเท่านั้น จึงจำเป็นจะต้องทำความรู้จักกับคนท้องถิ่นของ Karazu ก่อนจึงจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานนี้ได้

ปลา Ara ตุ๋นทั้งตัว ซึ่งตุ๋นในหม้อใหญ่พิเศษที่สั่งทำมาเพื่อจัดงานนี้เท่านั้น

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

จัดเตรียมปลา Ara ตัวเขื่องซึ่งเป็นหน้าเป็นตาของพ่อค้าแม่ขาย

เจ้าของโรงแรมญี่ปุ่น Nihon Ryokan Yoyogaku คุณ Masayasu Okawauchi ได้เล่าให้ฟังว่า สำหรับตระกูล Okawauchi นั้น การจัดเตรียมปลา Ara ในวันที่ 3 และ วันที่ 4 ต้องใช้ปลาถึง 30 กิโลกรัมมาตุ๋นเพื่อให้แขกที่เข้าพักได้รับประทานร่วมกันในห้องโถงใหญ่ และยังกล่าวอีกว่า

"ปลา Ara ตุ๋นที่โรงแรมของพวกเขาเป็นอาหารที่ทำพิเศษในช่วงวันงานเทศกาลเท่านั้น เราก็เลยต้องจัดหาและจัดเตรียมปลา Ara ที่มีขนาดใหญ่เอาไว้ก่อนและปรุงอย่างพิถีพิถันค่อยๆ ต้มด้วยไฟอ่อนไม่ให้เนื้อปลานั้นเปื่อย พอวันที่ 3 ที่ปลาเริ่มหมดไปครึ่งตัวแล้วถึงจะเริ่มตักปลาออกจากหม้อเอามาจัดเรียงในจานพร้อมกับหัวไชเท้าที่ตุ๋นมาด้วยกัน ซึ่งนี่ถือเป็นหน้าเป็นตาของเหล่าคนค้าขายใน Arazu ที่จะจัดเรียงยังไงให้จานนี้ออกมาดูสวยงามน่ากินอีกด้วย อีกอย่างคงพูดได้ว่า 'หน้าตาของอาหารที่แสดง' ก็คือหน้าตาของเหล่าพ่อค้าแม่ขายที่แสดงความขอบคุณและความจริงใจให้แก่แขกผู้มาร่วมงานจนเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง"

อาหาร Kunchi ที่นำมาจัดเรียงในโถงใหญ่ของ Yoyogaku

ผู้สืบทอดรุ่นที่ 5 ของ Yoyogaku คุณ Masayasu Okawauchi

 

"เมือง Karazu นั้นขับเคลื่อนด้วยพระเพณี Kunchi อาหารที่แต่ละบ้านจัดเตรียมนั้นแฝงความรู้สึกขอบคุณและความจริงใจเอาไว้ แต่สาวๆ ก็คงจะลำบากน่าดูเหมือนกันครับ"

สำหรับปลา Ara ตุ๋น ของ Yoyogaku นั้นจะถูกจัดเตรียมเอาไว้ในวันที่ 2 เท่านั้น แต่ถ้าหากต้องการรับประทานอาหารที่ทำจากเนื้อปลา Ara แล้วล่ะก็ ทางโรงแรมมีเมนูนี้ให้บริการตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์

Klook.com

สัมผัสกับความเร่าร้อนของเหล่าลูกผู้ชายแห่ง Karazu Kunchi "โรงแสดงเกี้ยว อาคารชุมชน Karazu"

ที่นี่มีการจัดแสดงเกี้ยวที่ถูกนำไปแห่ในเทศกาล Karazu Kunchi ทั้ง 14 หลังเอาไว้ด้วยกัน โดยมีการแสดงรายละเอียดชื่อเมืองผู้เป็นเจ้าของเกี้ยว ชื่อเกี้ยว และปีที่จัดทำเกี้ยวหลังนั้นๆ ขึ้นมา รวมไปถึงยังมีการฉายวีดีโอภาพบรรยากาศการแห่เกี้ยวในวันที่ 3 ให้ชมอีกด้วย

บทความนี้ได้รับอนุญาตให้ทำการแปลและเผยแพร่จาก:Oishii Island Kyushu

 

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !

มนต์เสน่ห์คิวชู
เช่ารถได้ในราคาที่คุณต้องการ รถเช่า หากคุณต้องการเช่ารถในญี่ปุ่น ต้องที่นี่เลย! ดูข้อมูลเพิ่มเติม

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

รับส่วนลดมากมายในญี่ปุ่น ที่นี่!

เกี่ยวกับนักเขียน

maa001
maa001
  • แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ค้นหาร้านอาหาร