สุดยอดคำแนะนำวิธีการใช้ 'รถไฟ' ในญี่ปุ่นแบบครบจบในหนึ่งเดียว !

หลายๆ คนอาจจะกังวลเกี่ยวกับการเดินทางโดยรถไฟในญี่ปุ่น บทความนี้จึงได้รวบรวมคำแนะนำในการขึ้นรถไฟ JR และรถไฟใต้ดินในญี่ปุ่น (โดยเฉพาะในเขตโตเกียว) แบบครบจบในหนึ่งเดียว ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่วิธีการซื้อตั๋วไปจนถึงวิธีการขึ้นลงรถไฟ แค่อ่านบทความนี้ ก็ไม่ต้องกลัวหลงแล้ว !

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ

คุณกำลังจะไปญี่ปุ่นแล้ว! ยินดีด้วยค่ะ คุณจะได้ขึ้นรถไฟตลอด 70 % ของเวลาที่อยู่ในญี่ปุ่นเลยล่ะ

บทความนี้ได้รวมเคล็ดลับในการเดินทางทุกขั้นตอน ตั้งแต่การไปที่สถานี ซื้อตั๋ว วิธีการขึ้นรถไฟ ฯลฯ และช่วยคลายข้อสงสัย เช่นวิธีการซื้อพาสเพื่อจะไม่ต้องซื้อตั๋วเป็นรายครั้ง วิธีแยกความต่างของรถไฟสายสีแดงอ่อนกับสีแดงสด วิธีเปลี่ยนสายรถไฟ ข้อแตกต่างระหว่างรถไฟ JR กับรถไฟใต้ดิน ไปจนถึงข้อแนะนำเวลารถไฟล่าช้าเพราะมีอุบัติเหตุ เช่น jinshin jiko เกิดขึ้น

บทความนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. รถไฟ JR
2. รถไฟใต้ดิน
3. คำถามที่พบบ่อย 

บทนำ

คำแนะนำนี้จะเน้นไปที่การใช้รถไฟในเขตโตเกียว เพราะฉะนั้นตัวอย่างจึงเป็นสถานีและรถไฟที่ใช้กันในเขตเมือง ส่วนชินคันเซ็นนั้นจะไม่นับเพราะตามหลักแล้วชินคันเซ็นไม่ใช่รถไฟธรรมดาค่ะ ถ้าคุณออกไปนอกโตเกียว ก็จะมีระบบรถไฟที่แตกต่างกันไป อย่างรถไฟใต้ดินสายโยโกฮาม่าและรถไฟใต้ดินสายนาโกย่า แต่ขั้นตอนการซื้อตั๋ว ขึ้นรถไฟ ซื้อพาส ฯลฯ ส่วนใหญ่แล้วก็จะเหมือนกัน

คุณอาจจะสงสัยว่ามีวิธีเดินทางในเมืองที่ญี่ปุ่นโดยไม่ขึ้นรถไฟด้วยหรือ ตัวเลือกมีอยู่ 2 ทางค่ะ จะเดินหรือขึ้นแท็กซี่ก็ได้ จริงๆ แล้วการเดินในโตเกียวก็เป็นทางเลือกที่ดี ถ้าคุณพักอยู่ใจกลางเมือง คุณสามารถเดินจากชิบูย่าไปเอบิสุได้โดยใช้เวลาราวๆ 12 นาที แต่คุณอาจจะไม่อยากเดินจากมิตากะ (ที่เป็นที่ตั้งของสตูดิโอจิบลิ) ไปชิบูย่า เพราะมันใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมง 

ส่วนการ ขึ้นแท็กซี่ อาจจะง่ายกว่ากันเยอะ และบางครั้งก็เร็วกว่าด้วย แต่ราคาค่าแท็กซี่ในโตเกียวก็จัดว่าแพงเลยทีเดียว อาจจะหมดเงินส่วนใหญ่ไปกับค่าเดินทางได้ ยกตัวอย่างการขึ้นรถไฟจากนากาโนะไปโคเอนจิ จะใช้เวลาแค่ 2 นาทีและราคา 140 เยน แต่การขึ้นแท็กซี่จากนากาโนะไปโคเอนจิใช้เวลา 10-15 นาทีและราคาอาจจะพุ่งขึ้นไปถึง 2,000 เยนเลยล่ะค่ะ 

ไม่จำเป็นต้องบอกเลยว่า รถไฟ เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นและเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการสัมผัสประสบการณ์ว่าการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นนั้นเป็นอย่างไร ว่าแล้วก็เริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ

ระบบรถไฟ JR

JR ย่อมาจาก Japan Railways กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่นนั้นมีอยู่หลายสาขาขึ้นอยู่กับตำแหน่ง เช่น Japan Railways East (JR East) ครอบคลุมบริเวณโทโฮคุและคันโตซึ่งโตเกียวอยู่ในนี้ เช่นเดียวกับ JR West ที่ครอบคลุมบริเวณคันไซและ JR Kyushu ที่ครอบคลุมบริเวณคิวชู 

จะไปที่สถานีรถไฟ JR ได้อย่างไร

ถ้าคุณพักอยู่ที่โรงแรมหรือที่โฮสเทล ส่วนมากจะมีการจัดเตรียมข้อมูลเรื่องการเดินทางไปสถานีที่ใกล้ที่สุดเอาไว้ให้ แต่คำถามง่ายๆ อย่าง "สถานีชินจูกุอยู่ไหน" หรือ "สถานีโตเกียวอยู่ไหน" อาจจะพาคุณไปอยู่คนละฟากกับที่ที่คุณต้องไปเลยก็ได้ หากคุณดูสายรถไฟไม่เป็น และกว่าคุณจะไปถึงที่ที่คุณต้องไป คุณก็เสียเวลาอันมีค่าไปแล้ว  

สถานีรถไฟ JR และ รถไฟสาย JR สามารถดูได้จากสัญลักษณ์ JR

jpellgen/Flickr

ถ้าคุณอยู่ในสถานี จะมีป้ายบอกว่ารถไฟสาย JR อยู่ที่ไหน ถ้าคุณขึ้นรถไฟใต้ดินมาที่สถานี คุณจะต้องออกจากส่วนของรถไฟใต้ดินมาก่อน ซึ่งก็คือหยอดตั๋วหรือแตะบัตร IC card ที่ประตูตรวจตั๋วก่อนถึงจะออกมายังส่วนของ JR ค่ะ

จะซื้อตั๋วรถไฟ JR ได้อย่างไร

ตั๋วสามารถซื้อได้ที่ เครื่องจำหน่ายตั๋ว ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับประตูตรวจตั๋วค่ะ (自動きっぷうりば)

4530553333_5daa0c4951_z
Alexander Olm/Flickr
 
1082215268_25e57555dc_z
Luis Villa del Campo/Flickr

คุณสามารถเลือกเป็นภาษาอังกฤษได้ (เว้นแต่อยู่ในสถานีที่เล็กมากจริงๆ) โดยการกดปุ่ม "English" ปกติจะอยู่ทางด้านบนมุมซ้ายหรือมุมขวา

เมื่อคุณเข้ามาใกล้ หน้าจอจะสว่างขึ้น และคุณจะเห็นช่องที่มีตัวเลขอยู่บนหน้าจอ ตัวเลขเหล่านั้นคือราคาตั๋วค่ะ แค่ดูที่แผนที่ คุณก็จะรู้แล้วว่าจุดหมายปลายทางของคุณราคาเท่าไหร่

2244164346_6f2e35c9a0_z
MiNe/Flickr

แผนที่นี้ปกติจะอยู่บนเครื่องจำหน่ายตั๋ว เป็นแผนที่รถไฟทุกสายที่คุณสามารถขึ้นได้จากจุดที่คุณอยู่และบอกราคาของแต่ละสถานี ปกติแล้วสถานีที่คุณอยู่จะเป็นสี่เหลี่ยมใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดบนแผนที่ และถ้าคุณอยู่บนสายเดียวกัน คุณก็จะรู้ว่าคุณต้องไปอีกกี่สถานีเพียงแค่นับสี่เหลี่ยมไปตามทางเท่านั้น (ยกตัวอย่าง ไปทางสถานีชินจูกุหรือห่างจากสถานีชินจูกุ) ถ้าคุณต้องเปลี่ยนสายรถ คุณต้องหาสายที่เชื่อมกับสายปัจจุบันที่คุณอยู่และไปที่สถานีนั้นค่ะ

ครั้งแรกอาจจะงงสักหน่อย แต่ครั้งต่อไปจะง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ และจะยิ่งง่ายขึ้นอีกถ้าเป็นที่สถานีเล็กๆ ที่คนไม่พลุกพล่าน บางครั้งแผนที่อาจมีแต่ภาษาญี่ปุ่น แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ คุณสามารถถามที่ประชาสัมพันธ์ซึ่งพวกเขายินดีที่จะให้ความช่วยเหลือ หรือคุณจะซื้อตั๋วที่ราคาต่ำสุดแล้วค่อยไปเปรียบเทียบราคา (อยู่ในคำถามถัดไป) ตอนที่ไปถึงปลายทางแล้วค่อยจ่ายส่วนต่างก็ได้ค่ะ

เมื่อคุณรู้แล้วว่าจะต้องจ่ายเท่าไหร่ กดที่ช่องบนหน้าจอและทำตามคำแนะนำ (ใส่เงินเข้าไป) คุณสามารถเลือกจำนวนคนและซื้อตั๋วสำหรับทุกคนจากปุ่มทางซ้ายมือ (หรือจากรูปคน) ตั๋วเด็กจะราคาถูกกว่า คุณสามารถปรับเลือกราคาสำหรับเด็กได้เช่นกัน แล้วคุณก็สามารถซื้อตั๋วแยกกันได้ด้วยค่ะ

แล้วถ้าจ่ายเงินซื้อตั๋วผิดล่ะ

3414745808_5cbc2fc37a_z
Ye Tan/Flickr

เมื่อคุณลงรถที่สถานีปลายทางแล้ว จะมีเครื่องปรับราคา (Fare Adjustment・のりこし精算機) อยู่ตรงประตูตรวจตั๋วค่ะ ใส่ตั๋วเข้าไปแล้วมันจะแจ้งว่าคุณจะต้องจ่ายเพิ่มอีกเท่าไหร่ ถ้าคุณมีบัตร IC card (ดูด้านล่าง) คุณก็สามารถเติมเงินในบัตรจากเครื่องนี้ถ้าคุณมีเงินไม่พอที่จะออกประตูได้ด้วยเหมือนกัน

สามารถซื้อพาสแทนได้ไหม

14940685120_ae5fb1b8da_z
Alyson Hurt/Flickr

ได้ค่ะ! ถ้าคุณไปญี่ปุ่นโดยใช้วีซ่านักท่องเที่ยว (ไม่เกิน 90 วัน) นักเรียนแลกเปลี่ยนช่วงสั้นๆ อาจจะใช้วีซ่านักท่องเที่ยวด้วยเหมือนกัน คุณก็สามารถใช้ JR Rail Pass ได้ แต่ต้องซื้อก่อนที่จะมาญี่ปุ่นนะคะ ไม่สามารถซื้อจากในประเทศได้ จะมีอายุนับตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มใช้งาน เพราะฉะนั้น ถ้าคุณมาญี่ปุ่น 2 สัปดาห์ แต่สัปดาห์แรกไม่ได้เดินทางไปไหน คุณก็สามารถเปิดใช้งานพาสได้ตอนเริ่มสัปดาห์ที่สองค่ะ

แต่ถ้าคุณไม่ได้ใช้วีซ่านักท่องเที่ยว คุณก็สามารถซื้อบัตร IC card ซึ่งเป็นบัตรเติมเงินได้ แค่เติมเงินไว้ แล้วก็แตะตอนจะเข้าหรือออกประตูตรวจตั๋วได้เลย ทั้งสะดวกแถมยังไม่ต้องตรวจสอบราคาให้ยุ่งยากด้วย

บัตรเติมเงิน IC card คืออะไร

บัตร IC มีอยู่หลาย "แบรนด์" อย่าง Suica และ Pasmo (ซื้อได้ในโตเกียวสำหรับสาย JR และไม่ใช่ของบริษัท JR ตามลำดับ) หรือ Toica และ Manaca (ที่นาโกย่า ลักษณะเหมือนกัน) หรือ lcoca และ PiTaPa (ที่โอซาก้า ลักษณะเหมือนกัน)

 

บัตร IC card ของ โตเกียว โอซาก้า ฮิโรชิม่า โอคายามะ นาโกย่า ซัปโปโร่ ฟุกุโอกะ คุมาโมโตะ คาโกชิม่า โออิตะ นางาซากิ นั้นสามารถใช้แทนกันได้ ซึ่งก็คือถ้าคุณซื้อบัตร IC card ที่โอซาก้า คุณก็สามารถเอาไปใช้ขึ้นรถไฟที่โตเกียวหรือซัปโปโร่ได้ ใช่แล้วค่ะ รถไฟ ไม่เกี่ยวว่าจะเป็นรถสาย JR หรือว่ารถไฟใต้ดินก็ได้ทั้งหมด แถมยังใช้ขึ้นรถบัสส่วนใหญ่ได้ด้วย แต่คุณไม่สามารถใช้บัตร IC card ขึ้นชินคันเซ็น รถไฟพิเศษ (อย่างรถไฟด่วนพิเศษ ซึ่งจะมีราคาต่างออกไป) และรถบัสที่วิ่งบนทางด่วนได้

สำหรับโตเกียว Suica และ Pasmo สามารถซื้อได้ที่เครื่องจำหน่ายตั๋วหรือที่เคาน์เตอร์ในสถานีเลยค่ะ เมื่อซื้อบัตร Suica หรือ Pasmo ใบแรกของคุณมาแล้ว คุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับตัวบัตรและจำนวนเงินที่คุณจะเติมเข้าไป 

171572070_fc170da808_z
呉/Flickr

สำหรับการเติมเงินในบัตร คุณสามารถเติมเงินที่เครื่องจำหน่ายตั๋วเครื่องไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นของ Suica หรือ Pasmo โดยใส่บัตรเข้าไปในช่อง (ปกติแล้วจะมีไฟสีแดงๆ กะพริบอยู่ข้างๆ) แล้วเมนูจะขึ้นมาพร้อมกับตัวเลือก กดเลือก "charge" ปกติแล้วจะสามารถเติมขั้นต่ำได้ที่ 1,000 เยน แต่บ้างเครื่องก็สามารถเติม 500 เยนได้ ใส่เงินเข้าไปก็เสร็จเรียบร้อย 

IC card ยังสามารถใช้จ่ายที่ร้านสะดวกซื้อด้วยเทคโนโลยีแตะแล้วไปเหมือนกันได้อีกด้วย และสามารถเติมเงินได้ด้วยเช่นกัน ร้านค้าอื่นๆ ก็อาจจ่ายด้วยบัตร IC card ได้ด้วยเหมือนกัน 

จะเปลี่ยนไปขึ้นรถไฟสาย JR ได้อย่างไร

เมื่อคุณลงจากรถไฟ ให้มองหาป้ายบนชานชาลา (แขวนจากเพดานหรืออยู่บนกำแพง) ทันที มันจะบอกว่าคุณต้องไปทางไหนต่อ ปกติป้ายจะเป็นชื่อสาย เช่น "JR lines" แล้วตามลูกศรไป

5223399538_81c2db0817_z
tokyoform/Flickr

บางครั้งคุณจะต้องแตะบัตรออกมาก่อนเพื่อไปยังอีกสถานีหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่คุณมาจากรถไฟใต้ดินแล้วจะไปขึ้นสาย JR หรือจากบริษัทรถไฟใต้ดินเจ้าหนึ่งไปอีกเจ้าหนึ่ง 

สิ่งหนึ่งที่อยากให้จำไว้คือ คุณต้องรู้ว่าคุณจะไปทางไหน บางครั้งป้ายจะบอกว่า "Hibiya Line - to Naka-Meguro" และ "Hibiya Line - to Ueno" ตรงจุดนี้ยาวไปตามชานชาลา จะมีป้ายบอกรายชื่อสถานีทางฝั่ง Naka Meguro กับทาง Ueno แต่ถึงแม้คุณจะไปผิดชานชาลา ก็มักจะมีทางเดินเชื่อมไปฝั่งที่ต้องการได้ค่ะ

รถด่วน ด่วนพิเศษ ด่วนในด่วน ด่วนโน่นนั่นนี่คืออะไร

7294768858_a66e759c76_z
Chris Hamby/Flickr

คำเหล่านี้จะบอกว่ารถไฟคันนี้ 'เร็ว' แค่ไหน

รถไฟธรรมดา (Local: 普通) - จอดทุกสถานี
รถไฟเร็ว (Rapid: 快速) - จอดเป็นบางสถานี
รถไฟด่วน (Express: 急行) - จอดสถานีน้อยกว่า ค่าโดยสารจะสูงกว่ารถไฟธรรมดาและรถไฟเร็ว 
รถไฟด่วนพิเศษ (Limited Express: 特急) - จอดแค่สถานีใหญ่ๆ และต้องซื้อตั๋วราคาพิเศษ (บางครั้งสูงถึง 4,000 เยนเลยทีเดียว)

คุณควรอยู่กับรถไฟธรรมดาและรถไฟเร็วจะดีที่สุด (แต่ถ้าคุณจะขึ้นรถไฟเร็ว ดูให้แน่ใจนะคะว่ารถไฟจอดที่สถานีที่คุณจะไปหรือไม่) แต่รถไฟด่วนและด่วนพิเศษอาจจะดีกว่าถ้าคุณจะออกจากโตเกียว (หรือเข้ากลางเมืองโตเกียวจากที่ไกลๆ)

จะรู้ได้อย่างไรว่าขึ้นชานชาลา JR ถูกแล้ว

ป้าย ป้ายและป้ายค่ะ! คุณต้องพึ่งป้ายเยอะมากเวลาที่อยู่ที่ญี่ปุ่นและโชคดีที่คุณจะมองไปที่ป้ายที่เป็นภาษาอังกฤษเช่นเดียวกับภาษาญี่ปุ่น

ปกติแล้วที่ชานชาลาจะมีลิสต์สถานีอยู่บนเสาซึ่งจะเป็นตัวบอกว่า 1) คุณอยู่ที่สายอะไร 2) ตอนนี้คุณอยู่ที่สถานีอะไร (ปกติจะเป็นตัวหนาและใหญ่) และ 3) คุณกำลังจะไปทางไหน สำหรับ JR แล้ว คุณจะต้องดูให้ดีว่าคุณจะไปทางไหนแล้วคุณจะไปถูกทาง การดูทิศทางในรถไฟใต้ดินจะง่ายกว่าเล็กน้อย

ป้ายที่แขวนอยู่เหนือชานชาลามักจะบอกสถานีใหญ่ๆ ที่คุณจะผ่านในทิศทางนั้นด้วย ถ้าคุณจะไปยังสถานีใหญ่ๆ อย่างชินจูกุ โตเกียวหรือชินากาวะ ก็จะมีชื่อสถานีเหล่านี้เขียนไว้บนป้ายที่เล็กกว่าด้วย

จะขึ้นรถไฟสาย JR ได้อย่างไร

14249998459_b7c64702c3_z
tokyoform/Flickr

พอคุณผ่านประตูตรวจตั๋วและเจอชานชาลาที่ใช่แล้ว คุณจะเห็นว่ามีตัวเลขอยู่บนกำแพงฝั่งตรงข้ามหรือเป็นแผ่นอยู่บนชานชาลา ตัวเลขเหล่านี้จะบอกว่าประตูของแต่ละตู้จะเปิดตรงไหน และนี่จะเป็นจุดที่คนมาต่อแถวกัน ตรงกลางขบวนมักจะเป็นจุดที่คนหนาแน่นที่สุด คุณจะมีโอกาสหาที่นั่งได้มากขึ้นถ้าคุณขึ้นที่ตู้แรกหรือว่าตู้สุดท้าย แต่แน่ล่ะว่ามันขึ้นอยู่กับสายและเวลาที่ขึ้นด้วย 

ต่อแถวรอ พอรถไฟเทียบชานชาลาสนิทดีแล้ว คุณต้องรอจนทุกคนลงให้หมดก่อน บางครั้งก็ดูเพลินจริงๆ นะคะ โดยเฉพาะเวลาที่รถไฟมีคนเยอะมากๆ

พอคุณขึ้นรถไฟแล้ว ขยับเข้าไปด้านข้างเพื่อเว้นที่ตรงกลางไว้ เพราะคนอาจจะเยอะมากก็ได้ อาจจะต้องเบียดสักหน่อยนะคะ

 
kpcmobile/Flickr

ระบบรถไฟใต้ดิน

ระบบรถไฟใต้ดินในโตเกียวแบ่งออกเป็นสองบริษัท คือ Tokyo Metro และ Toei Subway ไม่มีแบบแผนตายตัวว่าคุณจะต้องขึ้นของบริษัทไหน คุณสามารถเลือกจับคู่ผสมได้ จะขึ้นแต่ JR ก็ได้ หรือจะขึ้นแต่รถไฟใต้ดินก็ย่อมได้ สำหรับบริษัทรถไฟใต้ดินทั้งสองนั้นไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ เว้นแค่เรื่องเส้นทางเดินรถและราคา (Toei subway แพงกว่าเล็กน้อย) เช่น Toei Subway มีสายอาซากุสะที่พาคุณไปยังสกายทรีและวัดอาซากุสะ แต่ Tokyo Metro จะไปที่โอโมเตะซันโด 

จะไปที่สถานีรถไฟใต้ดินได้อย่างไร

สัญลักษณ์ของ Tokyo Metro จะหน้าตาแบบนี้

s_tokyo_metro_logo_full-svg
ja.wikipedia.org

ปกติแล้วจะเป็นตัว m สีขาวในภาพทางซ้ายมือ

ส่วนสัญลักษณ์ของ Toei Subway จะหน้าตาแบบนี้

s_1280px-symbol_flag_of_tokyo-svg
ja.wikipedia.org

ไม่จำเป็นว่าสาย Metro และ Toei จะต้องอยู่ที่สถานีเดียวกันเสมอไป เช่นเดียวกับที่สถานีนั้นๆ จะมีทั้งสาย JR และ Metro หรือ JR และ Toei เสมอไป จึงขอแนะนำให้เลือกที่พักที่อยู่ใกล้กับสถานีที่มีรถไฟหลายสาย เผื่อว่าสายใดสายหนึ่งเกิดล่าช้าขึ้นมาค่ะ 

สำหรับข้อมูลเรื่องบริษัท Tokyo Metro และ Toei Subway เพิ่มเติม เช่นสายเดินรถของแต่ละบริษัท ลองดูที่บทความเหล่านี้ได้

มารู้จักโตเกียวเมโทร เครือข่ายรถไฟใต้ดินอันดับ 1 ของโตเกียวกันเถอะ!

ก่อนถึงโตเกียว ลองทำความคุ้นเคยกับสายรถไฟใต้ดิน Toei กัน !

จะซื้อตั๋วรถไฟใต้ดินได้อย่างไร

การซื้อตั๋วรถไฟใต้ดินนั้นเหมือนกับการซื้อตั๋วรถไฟ JR เลยค่ะ 

21362172842_1f4634d4e7_z
 Rain Rabbit/Flickr

วิธีการซื้อตั๋วนั้นเหมือนกันคือ ดูที่แผนที่เพื่อหาราคาของที่ที่คุณจะไป กดปุ่มจำนวนเงินที่ต้องการบนหน้าจอ ถ้าจะซื้อมากกว่าหนึ่งใบก็ใส่จำนวนคน ใส่เงินเข้าไปก็เรียบร้อยค่ะ

ถ้าคุณเผลอซื้อตั๋วผิดหรืออยากจะเติมเงินใส่บัตร IC card คุณก็ไปที่เครื่องปรับราคาเหมือนที่รถไฟ JR ได้เลย

จะซื้อพาส / IC card สำหรับรถไฟใต้ดินแทนได้ไหม

คุณสามารถใช้ IC card ที่พูดถึงแล้วในส่วนของ JR สำหรับรถไฟใต้ดินโตเกียวได้ค่ะ (แต่ไม่สามารถใช้ JR Rail pass ได้ เพราะไม่ใช่รถไฟของบริษัท JR นั่นเอง)

7762902664_c96d3b7a43_z
tkaige/Flickr

จะเปลี่ยนสายรถไฟใต้ดินได้อย่างไร

29639959242_fe2b55f2bc_z
tokyoform/Flickr

การเปลี่ยนสายรถไฟใต้ดินนั้นเหมือนกับสาย JR ง่ายๆ ก็คือตามป้ายไป ! ถ้าคุณอยู่ที่ Tokyo Metro หรือ Toei เหมือนเดิมก็อาจจะไม่ต้องผ่านประตูตรวจตั๋วออกมาตอนที่จะเปลี่ยนไปสายอื่น การเปลี่ยนจาก Metro ไป Toei หรือในทางกลับกันจะต้องผ่านประตูตรวจตั๋วออกมา (ถ้าจะเปลี่ยนไปสาย JR ก็เช่นกัน) ตราบใดที่คุณตามป้ายไป รับรองไม่หลงแน่นอนค่ะ

จะรู้ได้อย่างไรว่าขึ้นรถไฟใต้ดินถูกชานชาลาแล้ว

เหมือนเดิมอีกแล้วค่ะ ดูป้ายให้ดี !

15807308910_13781fc7d4_z
tokyoform/Flickr

กับรถไฟ JR ปกติแล้วที่ชานชาลาจะมีลิสต์สถานีอยู่บนเสาซึ่งจะบอกว่า 1) คุณอยู่ที่สายอะไร 2) ตอนนี้คุณอยู่ที่สถานีอะไร (ปกติจะเป็นตัวหนาและใหญ่) และ 3) คุณกำลังจะไปทางไหน สำหรับรถไฟใต้ดิน ปกติแล้วป้ายพวกนี้จะใหญ่มากและบางครั้งจะมีอีกด้านหนึ่งด้วย อย่างเช่น ทิศทางที่คุณไม่ได้ไปจะถูกเบลอไว้หรือไม่มีเขียนไว้เลย เพราะฉะนั้นคุณจะไปถูกทางอย่างแน่นอนค่ะ

จะขึ้นรถไฟใต้ดินได้อย่างไร

เหมือนเดิมค่ะ การขึ้นรถไฟใต้ดินนั้นเหมือนกับการขึ้นรถไฟ JR ไม่มีผิด แต่ระวังรถไฟใต้ดินบางสายอย่างมารุโนะอุจิหรือโทไซที่คนจะพลุกพล่านสุดๆ ในช่วงเวลาเร่งด่วน 

รถไฟใต้ดินมีรถไฟด่วนด้วยไหม

มีค่ะ แล้วก็วิ่งเหมือนกับสาย JR เลยค่ะ

การเดินทางจากจุด A ไปจุด B (JR และรถไฟใต้ดิน)

1567089409_e0260b92b2_z
Justin C./Flickr

นี่คือตัวอย่าง "ขั้นตอนการขึ้นรถไฟ" ในการเดินทางจากตำแหน่งปัจจุบันไปยังจุดหมายปลายทางของคุณค่ะ

1. ไปที่สถานี

2. หาส่วนที่เป็นรถไฟ JR หรือรถไฟใต้ดินของสถานี

3. หาบริเวณสายรถที่คุณต้องการจะขึ้น

4. หาเครื่องจำหน่ายตั๋วที่อยู่ใกล้ๆ ประตูตรวจตั๋ว (ประตูเล็ก) ถ้าคุณมีบัตร IC card ที่เติมเงินเอาไว้อยู่แล้ว คุณสามารถผ่านประตูเข้าไปได้เลย 

5. ซื้อตั๋วหรือเติมเงินในบัตร IC card

6. ผ่านประตูตรวจตั๋วเข้าไป

7. หาทิศทางที่คุณจะไป  ซึ่งก็คือชานชาลาที่คุณจะต้องไปขึ้นนั่นเอง

8. หลังจากที่เจอชานชาลาแล้ว ต่อแถวเพื่อรอขึ้นรถไฟ

9. เมื่อรถไฟมาถึง รอจนทุกคนลงจากรถให้หมดก่อนจะเดินตามแถวเข้าไปในรถ

10. ขยับเช้าไปด้านในของตัวรถเพื่อเว้นที่ว่างใกล้กับประตู

11. เมื่อถึงสถานีที่ต้องการ ลงจากรถ และตรงไปยังทางออกที่ต้องการ
หมายเหตุเรื่องทางออก:  ปกติแล้วหนึ่งสถานีจะมีทางออกหลายทาง  เพราะฉะนั้นเช็กดูให้ดีก่อนนะคะ! สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหารและร้านค้ามักจะมีเขียนบอกไว้ในเว็บไซต์ว่าคุณจะต้องออกทางออกไหน

12. เดินตรงไปที่ประตูตรวจตั๋ว (ประตูเล็ก) และใส่ตั๋วหรือแตะบัตร IC card ของคุณ หรือปรับราคาก่อนถ้าต้องทำ แล้วเดินออกมา

หรือถ้าคุณต้องเปลี่ยนสายรถไฟ

11. เมื่อมาถึงสถานีแล้ว ลงจากรถ และมองหาป้ายที่บอกว่าคุณต้องไปเปลี่ยนสายรถไฟที่ไหน

12. เดินตามป้ายไป บางจุดคุณอาจจะไม่ต้องผ่านประตูตรวจตั๋ว (ประตูเล็ก) ก็ได้

13. พอคุณไปถึงชานชาลาที่ต้องการแล้ว ต่อแถวอีกรอบแล้วรอรถไฟขบวนถัดไป

เท่านี้แหละค่ะ!

คำถามที่พบบ่อย

1. พูดถึงแต่สาย JR กับรถไฟใต้ดิน แล้วสายอื่นๆ อย่าง เคอิโอะ โทบุ เดเน็นโตชิ ยูริกาโมเมะ ฯลฯ ล่ะ

14606435000_c3725afbe0_z
Antonio Tajuelo/Flickr

เพราะว่า JR กับรถไฟใต้ดินเป็นรถไฟที่ใช้ในเขตโตเกียวเป็นหลัก จึงเน้นอธิบายในบทความนี้ แต่ก็ยังมีสายรถไฟเอกชนสายอื่นๆ อย่างสายที่ได้พูดถึงไป (และอีกเยอะมากๆ) อีกด้วย ซึ่งการให้บริการก็ค่อนข้างเหมือนกับ JR และรถไฟใต้ดินเลยทีเดียว

2. ช่วงเวลาเร่งด่วนมันเลวร้ายเหมือนที่ทุกคนพูดถึงไหม

1430686376_585ee694eb_z
tokyoform/Flickr

ช่วงเวลาเร่งด่วน ที่คนหนาแน่นที่สุดนั้นเลวร้ายอยู่ค่ะ แต่จะมีคนอยู่ที่ชานชาลาเพื่อคอยช่วยอัดทุกคนเข้าไปในรถ แล้วพอเข้าไปได้แล้วก็จะแน่นเลยทีเดียว คุณจะถูกดันจากทุกทิศทุกทางเข้ากับคนแปลกหน้า และจะไม่มีโอกาสได้ยกมือหยิบมือถือขึ้นมาดูหรือเปลี่ยนเพลงเลยทีเดียว

ข่าวดีก็คือ พอถึงสถานีหลักๆ แล้ว คนส่วนใหญ่มักจะลงไป แล้วคุณก็จะสามารถขยับได้อีกครั้งหากคุณไม่ได้ลงไปพร้อมกับพวกเขา

3. jinshin jiko คืออะไร

Jinshin jiko (人身事故) แปลตรงตัวว่า "อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหนึ่งคน" และมีตัวคันจิที่แปลว่า "ตัวเอง (身)" และ "บุคคล (人)" ด้วย

โดยปกติแล้วหากเกิดเหตุ Jinshin jiko ซึ่งเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยในโตเกียว นั่นแปลว่ามีผู้ทำให้เกิดความไม่สงบบนรางรถไฟ อาจจะมีคนตกจากชานชาลาลงไปบนรางรถไฟก็เป็นได้  Jinshin jiko ส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการที่มีคนอยู่บนชานชาลาเยอะเกินไป คนเมา และคนที่บังเอิญตกลงไปบนราง

นี่จึงเป็นสาเหตุคุณจะเห็นประตูกั้นระหว่างชานชาลากับรถไฟที่สถานีและ/หรือสายรถไฟที่พลุกพล่านซึ่งจะปิดไว้จนกว่ารถไฟจะมาถึงและเปิดประตูออกนั่นเอง 

4. เหตุผลอื่นที่ทำให้รถไฟล่าช้าล่ะ

นอกจาก Jinshin jiko แล้ว บางครั้งรถไฟก็ล่าช้าเพราะการซ่อมบำรุงหรือปัญหาอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือระบบรถไฟญี่ปุ่น และเมื่อรถไฟเกิดความล่าช้า ทางบริษัทก็จะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อให้กลับมาทำงานได้โดยเร็วที่สุด

ถ้าสายรถไฟของคุณล่าช้า ไม่ต้องห่วงค่ะ ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหนก็มักจะมีเส้นทางอื่นเสมอ ลองถามนายสถานีหรือที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ หรือแม้แต่ใครสักคนที่รออยู่แถวๆ ชานชาลาแล้วก็ดูไม่ยุ่งเท่าไหร่ก็ยังได้ แต่ถ้าไม่มีทางเลือกแล้ว การเปลี่ยนไปขึ้นแท็กซี่แทนน่าจะดีที่สุดค่ะ

5. สายรถไฟก็สีเหมือนกันหมด แล้วจะแยกออกได้อย่างไร

10765678526_2886e9aac1_z
Jarkko Sakki/Flickr

ถ้าสีสับสนเกินไป คุณก็ต้องยึดจากชื่อสถานี ขอแนะนำให้เขียนทุกอย่างเอาไว้ก่อนถึงวันออกเดินทาง การบอกกับตัวเองว่า "ฉันต้องขึ้นสายสีส้ม" นั้นไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไหร่ เพราะถ้าคุณเห็นแผนที่รถไฟโตเกียวแล้ว อาจจะมีประมาณ 50 สายที่น่าจะเป็นสีส้ม ดังนั้นเขียนชื่อสายรถลงไปแทนจะดีกว่าค่ะ หรือจะหยิบแผนที่ซึ่งมีให้ที่สถานีส่วนใหญ่และปากกามาด้วยก็ได้

6. ขึ้นรถไฟแล้วจะปลอดภัยไหม

 
15220766993_6e765c4645_z
tokyoform/Flickr

ญี่ปุ่นไม่ใช่ประเทศที่ปลอดภัย 100% แต่ก็ไม่ใช่ประเทศที่มีอาชญากรรมสูงจนน่ากลัวด้วยเหมือนกัน ญี่ปุ่นเองก็เป็นเหมือนประเทศอื่นๆ โปรดดูให้แน่ใจว่ากระเป๋าสตางค์ถูกเก็บไว้ในที่ปลอดภัยใกล้ๆ ตัว อย่าทิ้งของเอาไว้โดยไม่สนใจ ฯลฯ

คุณอาจจะสังเกตเห็นว่ามีป้าย (อย่างในรูปด้านบน) อยู่ในสถานีบอกให้ระวัง chikan หรือคนโรคจิตบนรถไฟและให้กล้าตะโกนถ้ามีอะไรเกิดขึ้น การถูกลูบคลำหรือกล้องแอบถ่ายเคยเป็นปัญหาใหญ่ในอดีต แต่ก็ไม่ได้แปลว่าตอนนี้จะไม่มีแล้ว อย่างที่บอกค่ะ หูตาไวเข้าไว้

7. ถ้าลืมของไว้บนรถไฟล่ะ

ถ้าคุณลืมของไว้บนรถไฟ ไปที่ออฟฟิศหลักที่สถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุดแล้วอธิบายสถานการณ์ของคุณให้เขาฟัง เขาอาจจะต้องไปออฟฟิศของสถานีที่ใหญ่กว่าหรือเป็นสถานีหลักแต่ไม่ได้แปลว่าจะสิ้นหวัง อย่าได้กังวลเรื่องกำแพงภาษาจนเกินไปนักค่ะ ไม่ว่าคุณจะพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้หรือไปที่สถานีหลัก ส่วนมากแล้วจะมีพนักงานที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ค่ะ

8. รถไฟสายหนึ่งสามารถเปลี่ยนไปอีกสายหนึ่งได้ไหม

ได้ค่ะ ตอนแรกคุณอาจจะสับสน แต่พอคุณคุ้นกับมันแล้ว คุณจะพบว่ามันเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาได้ดีมากและไม่ต้องเปลี่ยนขบวนบ่อยเท่าที่คุณอาจจะต้องทำ สายรถที่วิ่งไปสนามบินฮาเนดะและนาริตะมักจะเริ่มที่สาย Metro และ "เพิ่ม" สถานีเข้าไปเพื่อให้บริการในเขตพื้นที่เหล่านั้น

โดยทั่วไปแล้ว รถไฟสายหนึ่งสามารถให้บริการอีกสายหนึ่งได้เพื่อรองรับผู้โดยสารให้มากขึ้น อย่างเช่นสาย Tokyo Metro โทไซนี้

สายโทไซสามารถวิ่งวนได้หลายแบบ

1) การให้บริการปกติ จะเริ่มจากนิชิ ฟูนาบาชิในชิบะ ไปยังนากาโนะในใจกลางโตเกียว และมีแค่สายโทไซเท่านั้น 
2) การให้บริการรถเร็ว จะเริ่มจากโทโย คาสึตาไดในชิบะ ไปยังนากาโนะในใจกลางโตเกียว แล้วข้ามบางสถานีระหว่างนั้น และเริ่มสายรถไฟด่วนโทโยแล้วรวมเข้ากับสายโทไซ
3) การให้บริการปกติสำหรับสายด่วนโทไซ จะเหมือนกับข้อ 2 แต่จะไม่ข้ามสถานี
4) การให้บริการปกติไปมิตากะ จะเริ่มจากนิชิ ฟูนาบาชิไปมิตากะ และเริ่มเป็นสายโทไซแล้วรวมเข้ากับสาย JR ชูโอ 
5) การให้บริการรถไฟด่วนไปมิตากะ จะเริ่มจากโทโย คาสึตาไดไปมิตากะ และเริ่มเป็นสายด่วนโทไซแล้วรวมเข้ากับสาย JR ชูโอ ขบวนนี้สามารถวิ่งได้ทั้งแบบรถด่วนหรือรถธรรมดา

ยิ่งกว่านั้น ความหลากหลายทั้งหมดนี้สามารถเป็นไปในทางกลับกันได้ด้วย คุณสามารถขึ้นที่มิตากะแล้วยิงยาวไปโทโย คาสึตาได หรือไปนิชิ ฟูนาบาชิและที่อื่นๆ ระหว่างนั้นก็ได้ (เว้นแต่คุณจะขึ้นรถด่วน) จำไว้ว่าถึงแม้สายจะบอกว่าเป็นรถไฟด่วนโทโย แต่มันก็ไม่ได้ด่วนเสมอไป นั่นแหละค่ะ บางครั้งรถก็จะให้บริการเหมือนรถธรรมดาและจอดทุกสถานี

งงใช่ไหมล่ะคะ ไม่ต้องกังวล ถ้าคุณหาข้อมูลไว้ล่วงหน้า คุณจะสามารถประหยัดเวลาในการเปลี่ยนสายรถได้ 

9. มีแอพที่ช่วยนำทางระบบรถไฟไหม

มีค่ะ! และมันมีประโยชน์มากๆ ด้วย แต่โปรดระวังไว้ว่าฟังก์ชั่นบางส่วนบนแอพเหล่านี้ต้องใช้ Wi-Fi ด้วย อาจจะหา Wi-Fi ในญี่ปุ่นยากสักหน่อย แต่ก็มี Wi-Fi ฟรีให้ใช้ที่รถไฟใต้ดินนะคะ (รถไฟ JR ยังไม่มี)

เรื่อง Wi-Fi อาจจะซับซ้อนเล็กน้อย สำหรับ Tokyo Metro นั้นจะมี Wi-Fi อยู่ทุกสถานีและทุกสาย แต่สัญญาณค่อนข้างอ่อน และบางครั้งก็ต้องเปิดหน้าต่างภาษาญี่ปุ่นเข้าไปหลายหน้ากว่าจะต่ออินเตอร์เน็ตได้ ส่วนรถไฟใต้ดิน Toei นั้นจะมี Wi-Fi อยู่ทุกสถานีบนสายโอเอโดะกับชินจูกุ แต่สายอาซากุสะกับมิตะจะมีแค่บางสถานีเท่านั้น จึงไม่แนะนำให้หวังพึ่ง Wi-Fi บนรถไฟสักเท่าไหร่ค่ะ

และนี่คือ 2 แอพพลิเคชั่นสำหรับแอนดรอยด์และไอโฟนที่สามารถใช้นำทางกับรถไฟของโตเกียวได้ค่ะ

NAVITIME สำหรับเดินทางในญี่ปุ่น

นี่อาจจะเป็นแอพเดียวที่คุณต้องการระหว่างเดินทางไปรอบๆ ญี่ปุ่นก็ได้ NAVITIME ไม่เพียงแต่ช่วยคุณหาเส้นทางเดินรถไฟเท่าานั้น แต่สามารถใช้งานแบบ offline เพื่อหา Wi-Fi ฟรีในบริเวณที่คุณอยู่ได้อีกด้วย ตัวแอพยังให้ข้อมูลรถบัส รถไฟใต้ดิน รถไฟ JR รถไฟอื่นๆ และเส้นทางเดินเท้าด้วย ทั้งยังสามารถประมาณราคาแท็กซี่ มีแผนที่รถไฟให้ และถึงขั้นให้ไอเดียสิ่งที่คุณต้องทำในโตเกียวถ้าคุณไม่รู้จะไปที่ไหนดีด้วย

แอพใหม่ของ Tokyo Metro สำหรับนักท่องเที่ยวหลงทาง -The Bridge

แอพนี้ใช้สำหรับขึ้นรถสาย Metro สามารถใช้งานแบบออฟไลน์ และมีภาษาญี่ปุ่น อังกฤษ จีนหรือเกาหลีให้เลือกใช้ได้ ตัวแอพมีแผนที่รถไฟ ตารางเดินรถและเส้นทางสำหรับ Metro ครับครัน

10. ตู้โดยสารสำหรับผู้หญิงคืออะไร

2858069319_7dc32b2a6f_z
David Pursehouse/Flickr

ตู้โดยสารสำหรับผู้หญิง เป็นตู้รถไฟที่จำกัดให้เฉพาะผู้หญิงขึ้นเท่านั้นในชั่วโมงเร่งด่วนทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น คุณจะสามารถหาตู้โดยสารสำหรับผู้หญิงได้จากป้ายใหญ่ยักษ์ (ปกติจะเป็นสีชมพู) บนชานชาลาหรือด้านในรถ ถ้าไม่ใช่ชั่วโมงเร่งด่วนหรือตอนที่ป้ายเป็นสีชมพู ผู้ชายก็สามารถขึ้นตู้นั้นได้ค่ะ

แต่ถ้าหากคุณเป็นผู้ชายและคุณเผลอขึ้นไปในตู้นั้นในเวลาที่กำหนดไว้ โดยเทคนิคแล้ว คุณจะไม่ถูกแบนจากทั้งตู้ถ้าคุณไม่ใช่ผู้หญิง คุณขึ้นไปได้ แต่คุณอาจจะถูกมอง หรืออาจโดนต่อว่าได้ ตามกฎหมายแล้ว คุณสามารถถูกปรับได้ (แม้จะแค่ 10 เยนก็ตาม) 

11. มารยาทพื้นฐานบนรถไฟคืออะไร

คุณอาจจะได้ยินมาว่าการคุยโทรศัพท์บนรถไฟนั้นเป็นเรื่องหยาบคาย และนั่นคือเรื่องจริงค่ะ แต่ถ้าคุณจำเป็นต้องคุย ก็สามารถคุยได้ค่ะ แค่ไม่เสียงดังก็พอ อีกข้อคือการเก็บสัมภาระไว้ใกล้ตัวและอย่ายื่นขาออกไปกลางรถเพราะทุกคนจะต้องก้าวข้ามกันหมด แล้วก็ไม่กินอาหารบนรถไฟด้วย แต่หากคุณต้องกิน ก็อย่าทำเลอะเทอะค่ะ ปรับระดับเสียงเพลงในหูฟังให้ดังพอประมาณ (แต่นี่ก็ไม่ใช่ปัญหาสักเท่าไหร่เวลาที่ขบวนรถคนไม่แน่น)

2732883131_0f8c19f8b4_z
justina kochansky/Flickr

อย่าลืมสังเกตที่นั่งสำหรับบุคคลพิเศษด้วยนะคะ ถ้ารถไฟคนไม่แน่นหรือคุณเหนื่อยมาก และแถวนั้นก็ไม่มีคนที่จำเป็นจะต้องนั่ง คุณก็สามารถนั่งก็ได้ค่ะ ไม่เป็นไร แต่ถ้ามีผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้พิการ หรือใครก็ตามที่จำเป็นต้องนั่งตรงที่นั่งสำหรับบุคคลพิเศษ ก็ควรย้ายที่นั่งค่ะ โดยสตรีมีครรภ์ในญี่ปุ่นจะได้พวงกุญแจ (ป้ายสตรีมีครรภ์) ที่มักจะแขวนไว้ตรงกระเป๋าเพื่อบอกให้ทุกคนรู้ว่าพวกเธอต้องการที่นั่งบนรถไฟ (และยังเป็นการบอกความต้องการของพวกเธออย่างสุภาพด้วย) เพราะฉะนั้น คุณจะรู้เมื่อต้องลุกให้พวกเธอนั่งค่ะ 

pixta_25264718_s
pixta.jp

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

รับส่วนลดมากมายในญี่ปุ่น ที่นี่!

เกี่ยวกับนักเขียน

tsunagu
tsunagu Japan
นี่คือแอ็คเคาท์ทางการของ tsunagu japan
  • แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ค้นหาร้านอาหาร