กลยุทธ์พิชิต 'สถานีชินจูกุ' แบบละเอียดสุดๆ พร้อมที่เที่ยวน่าสนใจใกล้ๆ รับรองไม่หลงทางชัวร์ !

「สถานีชินจูกุ」สถานีใหญ่ในโตเกียว เป็นสถานีที่มีผู้โดยสารมาเยี่ยมเยือนมากที่สุดในโลก และยังมีโครงสร้างตัวสถานีที่สลับซับซ้อนจนแม้แต่คนญี่ปุ่นเองยังหลงทาง บทความนี้จะมาแนะนำวิธีที่ทำให้คุณใช้บริการสถานีชินจูกุได้โดยไม่ต้องกลัวหลง ดังนั้นก่อนจะมาโตเกียวและชินจูกุ ก็อย่าลืมเข้ามาอ่านบทความนี้กันก่อนนะคะ !

แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

บทความนี้อาจมีลิงก์พาร์ทเนอร์ หากคุณทำการซื้อผ่านลิงก์พาร์ทเนอร์ เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคุณ

 

ชินจูกุ สถานีใหญ่ที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในโลกกว่า 3,400,000 คนในหนึ่งวัน และยังมีโครงสร้างในสถานีที่แสนจะซับซ้อน บทความนี้จะมาแนะนำสิ่งที่ทุกคนควรรู้เพื่อที่จะได้ใช้บริการสถานีชินจูกุได้อย่างราบรื่น พร้อมจุดน่าสนใจใกล้ๆ ทั้งที่เที่ยว ช็อป กิน ใกล้ๆ สถานีชินจูกุ พร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย !

 

สารบัญ

  1. สถานีชินจูกุนี่เป็นสถานที่แบบไหนกันนะ?

  2. 3 ข้อที่คนอยากเที่ยวชินจูกุต้องรู้ เริ่มแรกจำได้แค่นี้ก็โอเคแล้ว !

  3. ไกด์รอบสถานี

    1. จุดตัวแทนพื้นที่ต่างๆ

    2. สถานที่แนะนำแยกตามประเภท

      1. ช็อปปิ้ง

      2. อาหาร

      3. ที่พัก

      4. กิจกรรม

  4. การเดินทางระหว่างโซนภายในอาคารสถานี

    1. เส้นทางใต้ดิน [ทางออกตะวันตก⇔ทางออกตะวันออก]

    2. ทางเดินบนพื้นดิน [ทางออกตะวันตก⇔ทางออกตะวันออก]

    3. [ทางออกใต้⇔ทางออกตะวันออก]

    4. [ทางออกใต้⇔ทางออกตะวันตก]

  5. การเดินทางจากชินจูกุไปยังพื้นที่ใกล้เคียง

    1. การเดินทางด้วยรถไฟ

    2. การเดินทางด้วยแท็กซี่

    3. การเดินทางระยะไกลด้วยบัสความเร็วสูง

    4. บริการให้เช่ารถ

  6. จุดอำนวยความสะดวกรอบสถานีชินจูกุ จุดไหนดี จุดไหนเด่น ใช้บริการให้หมด!

    1. ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว

    2. สถานที่รับแลกเงิน

    3. ไวไฟ/ที่ชาร์จไฟ

    4. ที่ฝากสัมภาระ

    5. ห้องสวดมนต์(Shinjuku Takashimaya 11F)

 

 

 

1.สถานีชินจูกุเป็นที่แบบไหนกันนะ? อ๋อ! เป็นศูนย์กลางรองของเมืองโตเกียวยังไงล่ะ

s_1

สถานีJRชินจูกุ ทางออกทิศตะวันออก รูปภายนอก

คาบูกิโจ อีกหนึ่งย่านธุรกิจหลักของชินจูกุ

B Lucava/Flickr
 

"ชินจูกุ" หนึ่งในย่านการค้าและท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น "สถานีชินจูกุ" ที่อยู่กลางเมืองเป็นศูนย์รวมของรถไฟหลายสาย ทั้งสาย JR สายเอกชน และรถไฟใต้ดิน ที่จะนำคุณไปยังสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในโตเกียว คามากุระและโชนัน (บริเวณริมทะเลรอบอ่าวซากามิ) ในจังหวัดคานากาว่า อีกทั้งรอบสถานีเองก็ยังมีแหล่งช็อปปิ้งและตึกสำนักงานเรียงรายอยู่มากมาย ถึงแม้จะไม่ใช่เวลาพักเที่ยงก็พลุกพล่านไม่น้อยเลยทีเดียว 

 

ที่ที่คนพลุกพล่านที่สุดในโลก!? สถานีปลายทางขนาดใหญ่

s_2

ชานชาลาของสถานี JR ชินจูกุที่อัดแน่นไปด้วยผู้คน

 

สถานีชินจูกุเป็นสถานีปลายทางเชื่อมโยงระหว่างใจกลางเมืองกับชานเมือง ดังนั้นในสถานีจึงมีผู้คนจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา โดยใน 1 วัน มีผู้โดยสารจำนวนกว่า 3,600,000 คน จนได้รับประกาศนียบัตรจาก Guinness World Records เลยทีเดียว เวลาที่มีคนพลุกพล่านมากที่สุดคือช่วงเช้าวันธรรมดา ซึ่งเป็นเวลาเข้าทำงานและเวลาเข้าเรียน ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาดังกล่าว

นอกจากจะมีคนพลุกพล่านแล้ว สถานีชินจูกุยังขึ้นชื่อเรื่องความซับซ้อนอีกด้วย โดยภายในสถานีมีชานชาลาที่มีรถไฟของ 6 บริษัท รวม 11 สาย วิ่งผ่านและมีทางเดินใต้ดินที่เชื่อมสถานที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน จึงมีโครงสร้างที่ทั้งใหญ่และซับซ้อน

นอกจากนี้ จากชั้น 3 บนดินไปจนถึงชั้น 5 ใต้ดินยังมีทางเดินใต้ดินและทางเชื่อมต่างๆ แผ่กว้างเป็นตาข่าย ซับซ้อนราวกับคุกใต้ดิน และถึงแม้จะเป็นคนที่อาศัยอยู่ที่โตเกียวก็สามารถหลงทางได้ง่ายๆ เลยทีเดียว

 

 

2. เริ่มแรกแค่จำเท่านี้ก็เพียงพอ ! 3 กลยุทธ์พิชิตชินจูกุ !

ถึงแม้จะมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน แต่ถ้าหากจำกลยุทธ์ทั้ง 3 ข้อนี้ได้รับรองว่าเดินชินจูกุได้สบายมาก แม้จะไม่เคยไปชินจูกุมาก่อนก็สามารถไปถึงจุดหมายได้โดยไม่หลง !

 

กลยุทธ์ที่ 1: แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน

พื้นที่รอบสถานีชินจูกุที่แผ่กว้างนั้น เพียงแค่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ก็จะทำให้เข้าใจได้ง่ายเกินคาด โดยเริ่มแรกให้ใช้สถานี JR ชินจูกุเป็นศูนย์กลาง แบ่งพื้นที่รอบๆ ออกเป็นฝั่งตะวันออก ฝั่งตะวันตก และฝั่งใต้ แล้วหาว่าสถานที่ที่อยากไปอยู่พื้นที่ไหน ไม่ว่าสถานที่ที่อยากไปอยู่ในสถานี หรืออยู่รอบสถานีก็สามารถใช้วิธีนี้คิดได้เลย !

 

"พื้นที่ฝั่งตะวันออก"

s_3


ในที่นี้จะเรียกพื้นที่ด้านตะวันออกของสถานีชินจูกุว่า "พื้นที่ฝั่งตะวันออก" เป็นย่านการค้าที่รวมร้านรวงต่างๆ ไว้มากมาย ทั้งห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ และร้านอาหารต่างๆ และยังมีสถานี Seibu-shinjuku รวมถึง สถานี Shinjukusanchoume อยู่ในพื้นที่อีกด้วย

ทางออกสถานี JR ในพื้นที่ฝั่งตะวันออก

  1. Central East Exit
  2. East Exit

 

"พื้นที่ฝั่งตะวันตก"

s_4

 

ในพื้นที่ด้านตะวันตกของสถานีมีตึกออฟฟิศ เช่น ศาลาว่าการกรุงโตเกียว และโรงแรมหรูเรียงรายอยู่ ในที่นี้จะเรียกว่า"พื้นที่ฝั่งตะวันตก" สามารถขึ้นรถไฟสาย Odakyu, สาย Keio และโตเกียวเมโทรสาย Marunouchi ได้ในพื้นที่นี้

ทางออกสถานี JR ในพื้นที่ฝั่งตะวันตก

  1. Central West Exit
  2. West Exit

 

"พื้นที่ฝั่งใต้"

s_5

 

"พื้นที่ฝั่งใต้" คือพื้นที่ทางทิศใต้ของสถานีชินจูกุ ในพื้นที่นี้มีทั้งบัสเทอร์มินอลหรือที่โดยสารบัสความเร็วสูง สถานที่ช็อปปิ้ง และอื่นๆ โดยหลายปีมานี้มีสถานที่ที่เปิดใหม่ในพื้นที่นี้หลายแห่งทีเดียว สามารถขึ้นรถไฟสาย Odakyu สาย Toei-oeido สายToei-shinjuku และสาย Keio ได้ในพื้นที่นี้

ทางออกสถานี JR ในพื้นที่ฝั่งใต้

  1. South Exit
  2. South East Exit
  3. New south ticket gate
  4. Koshu-Kaido gate
  5. Miraina Tower gate

※ทางออก 3-5 อยู่ทางใต้ของสถานี สองฝั่งถนน Koshu-Kaido

 

 

กลยุทธ์ที่ 2: จำไว้ว่า "ฝั่งใต้อยู่ข้างบน ฝั่งตะวันออกตะวันตกอยู่ข้างล่าง"

ก้าวแรกของกลยุทธ์ในสถานีคือห้ามออกผิดทางออก ทุกครั้งที่จะออกจากสถานีไปยังจุดหมาย ให้ท่องกฏเหล็กไว้ว่า "ฝั่งใต้อยู่ข้างบน ฝั่งตะวันออกตะวันตกอยู่ข้างล่าง" เพียงเท่านี้ ถึงจะจำทางผิดพลาดไปบ้าง ก็สามารถแก้ไขได้ระหว่างทาง

 

"กรณีที่อยากไปฝั่งใต้"

s_6

จากชานชาลาให้ขึ้นบันไดไปชั้นบนเพื่อออกทางออกที่อยู่ในพื้นที่ฝั่งใต้ เช่น South Exit, South East Exit และ New South Exit

 

"กรณีที่อยากไปฝั่งตะวันออก/ฝั่งตะวันตก"

s_7

สามารถออกทางออกตะวันออกหรือตะวันตกได้เพื่อไปในทุกพื้นที่ โดยให้ลงบันไดไปใต้ดิน ทางออกตะวันออกให้เดินไปทางชานชาลาหมายเลข 1 ทางออกตะวันตกให้ไปทางชานชาลาหมายเลข 16

 

 

กลยุทธ์ที่ 3: พยายามอย่าใช้ทางเดินใต้ดิน

หากใช้ทางเดินใต้ดินหรือทางเชื่อมจะทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น แต่หากเป็นท่านที่เพิ่งเคยมาชินจูกุเป็นครั้งแรก จะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะหลง เนื่องจากมีรถไฟหลายสายที่วิ่งใต้ดิน จึงมีจำนวนชั้นตั้งแต่ชั้น 3 บนดินไปจนถึงชั้น 5 ใต้ดิน และมีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก ทางที่ดีหากฝนไม่ตกให้ใช้ทางเดินบนดินจะไปถึงจุดหมายได้ง่ายกว่า

s_8

 

 

3.  ไกด์รอบสถานี

3-a. จุดตัวแทนพื้นที่ต่างๆ

พื้นที่ฝั่งตะวันออก, ตะวันตก, และฝั่งใต้ มีสถานที่แบบไหนบ้างนะ เรามาเริ่มดูจากจุดที่เด่นๆ กันเลย

 

i. ฝั่งตะวันออก

[ คาบูกิโจ ]  (歌舞伎町)

s_9

"เมืองที่ไม่เคยหลับใหล" แม้แต่กลางดึกก็ยังสว่างไสวด้วยแสงไฟนีออน เดินประมาณ 5 นาทีจากสถานี ก็จะถึงย่านบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น มี "ร้านอาหารหุ่นยนต์" ที่กำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

 

[ Lumine Est ]

s_12

Lumine Est อยู่ติดกับ East Exit เป็นห้างที่มีทั้งร้านขายเสื้อผ้าและเครื่องประดับอยู่มากมาย เหมาะสำหรับสาวๆ วัยรุ่น มีพื้นที่กว้างกว่าและมีร้านหลากหลายกว่าห้างของเจ้าเดียวกันอย่าง Lumine Shinjuku ที่อยู่ติดกับ South Exit

▼เว็บไซต์ของ Lumine Est

http://www.lumine.ne.jp/est/ (มีระบบแปลภาษาอัตโนมัติ)

 

[ Shinjuku Marui ]

s_13

Shinjuku Marui อยู่ห่างจากสถานีประมาณ 5 นาทีเดินเท้า มี 3 ตึกด้วยกัน คือ ตึกหลัก ตึก Men's และตึกเสริม โดยตึกหลักมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัย 20-30 ปี, ตึก Men's มีแบรนด์ของคุณผู้ชายหลากหลายตั้งอยู่ที่นี่ ส่วนตึกเสริม เมื่อเทียบกับตึกหลักแล้ว สินค้าจะเป็นแนวแคชวลกว่า อย่างไรก็ตามทุกตึกจะมีแฟชั่นเป็นตัวหลัก ทุกท่านจึงสามารถเพลิดเพลินไปกับการช็อปปิ้งได้ที่นี่ !

▼เว็บไซต์ของ Marui Group

https://www.0101.co.jp/ (มีระบบแปลภาษาอัตโนมัติ)

 

ii. พื้นที่ฝั่งตะวันตก

[ ศาลาว่าการกรุงโตเกียว ] (東京都庁舎)

s_91

ศาลาว่าการกรุงโตเกียว อันเป็นสัญลักษณ์ของกรุงโตเกียวประกอบไปด้วยตึก 1 สูง 48 ชั้น และตึก 2 สูง 34 ชั้น และที่ประชุมของสมาชิกสภากรุงโตเกียว ตึกสูงทั้งสองเป็นตึกที่มีสมมาตรซ้ายขวา ตึก 1 ที่สูงโดดเด่น มีจุดชมวิวที่ชั้น 45 สามารถชมความงามของกรุงโตเกียวรอบด้านจากความสูงกว่า 202 เมตรได้ที่นี่ ยิ่งวันที่อากาศดีก็จะมีโอกาสเห็นภูเขาไฟฟูจิได้ด้วย โดยจากสถานีชินจูกุเดินเพียงแค่ 10 นาที เท่านั้น

▼เว็บไซต์ศาลาว่าการกรุงโตเกียว

ภาษาญี่ปุ่น:http://www.metro.tokyo.jp/

ภาษาอังกฤษ:http://www.metro.tokyo.jp/ENGLISH/index.htm

 

Omoide Yokocho ] (思い出横丁)

s_11

ถนนแห่งนี้เต็มไปด้วยบาร์นั่งดริงค์สไตล์ดั้งเดิม ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกค่อนมาทางตะวันออก ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Shinjuku West exit shopping street (新宿西口商店街) แต่มีอีกชื่อที่คุ้นหูกว่าคือ Omoide Yokocho (Memory Alley) ถนนสายนี้เคยเป็นตลาดมืดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 300 ตารางเมตร และร้านค้ากว่า 70 ร้าน มีของอร่อยราคาถูกวางขายอยู่มากมาย และมีร้านที่มีสไตล์แหวกแนวจำนวนมาก

▼เว็บไซต์ของ Omoide Yokocho

ภาษาญี่ปุ่น:http://shinjuku-omoide.com/

ภาษาอังกฤษ:http://shinjuku-omoide.com/english/index.html

 

iii. ฝั่งใต้

[ สวน Shinjuku Gyoen ] (新宿御苑)

s_5687493012_31b9066422_z

hkflc/Flickr

เดินประมาณ 10 นาทีจากสถานีชินจูกุก็จะพบกับโอเอซิสกลางเมืองใหญ่ Shinjuku Gyoen โดยแต่เดิมจะถูกสร้างเป็นสวนของราชวงศ์ ภายในสวนจึงยังมีสิ่งก่อสร้างในสมัยนั้นหลงเหลืออยู่ ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะที่ใช้พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และยังสามารถเพลิดเพลินไปกับบรรยากาศของทั้งสี่ฤดูได้อีกด้วย และเป็นอีกหนึ่งสถานที่ชมดอกซากุระที่มีชื่อเสียง

▼เว็บไซต์ของ Shinjuku Gyoen

http://fng.or.jp/shinjuku/ (ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น)

 

[ Lumine Shinjuku ]

s_10

Lumine Shinjuku ช็อปปิ้งมอลล์ที่ตั้งอยู่ภายในสถานีชินจูกุ แบ่งเป็น 2 พื้นที่ คือ "Lumine1" และ "Lumine2" เป็นที่รวมร้านเสื้อผ้าเครื่องประดับหลากหลายเอาใจวัยรุ่น โดยเป็นช็อปปิ้งมอลล์ในเครือเดียวกับ Lumine Est ที่อยู่ติดกับประตูตะวันออก แต่จะมีร้านที่รวมเสื้อผ้าของหลายแบรนด์ไว้ในร้านเดียวจำนวนมากกว่า

▼เว็บไซต์ของ Lumine Shinjuku

http://www.lumine.ne.jp/shinjuku/ (มีระบบแปลภาษาอัตโนมัติ)

 

[ NEWoMan ]

s_14

NEWoMan ศูนย์การค้าที่ตั้งอยู่ใน JR Shinjuku Miraina Tower แลนด์มาร์คใหม่ของชินจูกุที่สร้างขึ้นในปี 2016 จุดเด่นไม่ได้มีเพียงแค่แฟชั่นเท่านั้น แต่ "อาหาร" และ "ไลฟ์สไตล์" ก็เป็นจุดที่ได้รับความสนใจเช่นกัน กลุ่มลูกค้าหลักๆ คือสาวๆ วัย 30-40 ปี และยังเป็นแหล่งรวมคาเฟ่ รวมถึงแบรนด์ความงามยอดนิยมของญี่ปุ่นและต่างประเทศ

▼เว็บไซต์ของ NEWoMan

ภาษาญี่ปุ่น: http://www.newoman.jp/

ภาษาอังกฤษ: http://www.newoman.jp/en/

 

Busta Shinjuku ] (バスタ新宿)

s_15

Busta Shinjuku เป็นหนึ่งในจุดขึ้นรถบัสด่วนที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เปิดให้บริการในปี 2016 ไม่ใช่แค่เพียงสามารถซื้อตั๋วและออกตั๋วรถบัสได้เท่านั้น ยังมีบริการหลากหลายที่แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้ขึ้นรถบัสก็สามารถใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว จุดขึ้นรถแท็กซี่ ตู้ล็อกเกอร์หยอดเหรียญ ฟรีไวไฟ และบริการอื่นๆ อีกมากมาย การเดินทางจากสถานี JR ชินจูกุ ก็เพียงแค่ออกทางออก New South Exit ก็จะพบกับบันไดเลื่อนที่พาขึ้นไป Busta Shinjuku แล้ว

▼เว็บไซต์ของ Busta Shinjuku

ภาษาญี่ปุ่น: http://shinjuku-busterminal.co.jp/

ภาษาอังกฤษ: http://shinjuku-busterminal.co.jp/en/

 

3-c. สถานที่แนะนำแยกตามประเภท

นอกจากสถานที่เด่นๆ ของพื้นที่ต่างๆ แล้ว ใกล้ๆ สถานีชินจูกุก็ยังมีสถานที่แนะนำอีกเพียบ ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือช็อปปิ้ง อาหาร ที่พัก และกิจกรรม

 

i. ช็อปปิ้ง

[Bicqlo] (ビックロ)

s_16

เมื่อเดินออกจากทางออกทิศตะวันออกของสถานีชินจูกุ จะพบกับ Bicqlo ศูนย์การค้าที่รวม Bic Camera หรือร้านขายส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าและ Uniqlo แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังเข้าด้วยกัน  นอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและเสื้อผ้าแล้ว ที่นี่ยังวางขายสินค้าเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ตั้งแคมป์ และของเล่นอย่างครบครัน

▼ เว็บไซต์ของ Bic Camera

http://www.biccamera.co.jp/shopguide/index.html (มีระบบแปลภาษาอัตโนมัติ)

 

Don Quijote Shinjuku Higashiguchi Honten ] (ドン・キホーテ)

s_17

ร้านขายของที่รวมสินค้าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องสำอาง สินค้าเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และอื่นๆ วางขายในราคาที่ถูกกว่าที่อื่น ทั้งยังมีบริการหลากหลายที่ทำให้นักท่องเที่ยวใช้บริการได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงประกาศหลายภาษาในร้านและมีพนักงานที่พูดภาษาต่างๆได้อีกด้วย เดินทางง่ายๆ เพียง 5 นาทีจากสถานีชินจูกุ อยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออก

▼เว็บไซต์ของ Don Quijote

ภาษาญี่ปุ่น:http://www.donki.com/

ภาษาอังกฤษ:http://www.donki.com/en/?pre=le 

 

Shinjuku Isetan ]

s_18

Shinjuku Isetan เป็นหนึ่งในห้างสรรพสินค้าที่เด่นเรื่องแฟชั่นที่สุดในบรรดาห้างสรรพสินค้าของญี่ปุ่น คอนเซ็ปต์ของ Shinjuku Isetan คือพิพิธภัณฑ์แฟชั่นที่ดีที่สุดในโลก จึงวางขายสินค้าแฟชั่นที่ทันสมัยที่สุดและเทรนด์ต่างๆ ของโตเกียว โดย Shinjuku Isetan อยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออก เดินจากสถานีชินจูกุใช้เวลา 5 นาที หรือเดินจากสถานีที่ใกล้ที่สุด คือโตเกียวเมโทร สถานี Shinjuku Sanchome ใช้เวลาเพียงแค่ 1 นาที

▼เว็บไซต์ของ Shinjuku Isetan

http://isetan.mistore.jp/store/shinjuku/index.html (มีระบบแปลภาษาอัตโนมัติ)

 

ii.อาหาร

[ Shinjuku Sumitomo Building ] (新宿住友ビル)

s_pixta_27259992_S

สำหรับผู้ที่อยากรับประทานอาหารค่ำไปพร้อมกับการชมวิวสวยๆ ขอแนะนำแหล่งรวมร้านอาหารในพื้นที่ฝั่งตะวันตก โดยเดินจากสถานีชินจูกุประมาณ 10 นาที ก็จะพบกับเมืองร้านอาหารบนชั้น 48-52 ของ "Shinjuku Sumitomo Building" ที่สามารถชมทิวทัศน์ยามค่ำคืนใจกลางเมืองได้รอบทิศทางในความสูง 200 เมตร จากพื้นดิน มีทั้งอาหารญี่ปุ่น ชาบูชาบู อาหารอิตาเลี่ยนและร้านอาหารประเภทอื่นๆ อีกมากมาย

▼เว็บไซต์ของ Shinjuku Sumitomo Building

http://www.gnavi.co.jp/sumitomobldg/ (ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น)

 

[ Shinjuku Goldengai ] (新宿ゴールデン街)

s_19

Shinjuku Goldengai สถานที่ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอย่างมาก ที่นี่มีร้านเล็กๆ ในตึกแถวยาวที่สร้างด้วยไม้เรียงตัวตามสองข้างทางเดิน  มีทั้งร้านที่ให้ความรู้สึกโบราณๆ และร้านที่เป็นที่นิยมของหนุ่มสาว ทุกร้านต่างก็มีสไตล์เป็นของตนเองแต่มักจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงพูดคุยสังสรรค์กับคนรอบข้างได้อย่างสนุกสนาน

▼เว็บไซต์ทางการของ Shinjuku Goldengai

http://www.goldengai.net/ (ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น)

 

 [Odakyu Department Store]

s_pixta_26677686_S

ถ้าอยากหาที่ซื้ออาหารที่สะดวกและรวดเร็ว ลองไปที่ห้าง Odakyu Department Store ห้างนี้ดู ที่นี่มีร้านอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลาย ไม่ต้องเดินไปหลายที่ให้เสียเวลา เพราะอยู่ติดทางออกทิศตะวันตก โดยมีขายตั้งแต่อาหารญี่ปุ่นทั้งซูชิ เท็มปุระ ทงคัตสึ ไปจนถึงอาหารจีนและอาหารตะวันตกรวมไว้ในที่เดียว ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

▼ เว็บไซต์ทางการของ Odakyu Department Store Shinjuku

http://www.odakyu-dept.co.jp/shinjuku/index.html (มีระบบแปลภาษาอัตโนมัติ)

 

iii. ที่พัก

[ Keio Plaza Hotel ]

ที่ชินจูกุมีโรงแรมอยู่หลากหลาย ตั้งแต่โรงแรมหรูไปจนถึงโรงแรมธุรกิจ (business hotel) ราคาย่อมเยา โดย Keio Plaza Hotel แห่งนี้ เป็นโรงแรมในตึกสูงที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันตก สามารถรับบริการคุณภาพเยี่ยมได้ในบรรยากาศสบายๆ การเดินทางก็สะดวก เดินเพียงแค่ 5 นาที จากสถานีชินจูกุเท่านั้น

▼ เว็บไซต์ของ Keio Plaza Hotel

ภาษาญี่ปุ่น:http://www.keioplaza.co.jp/

ภาษาอังกฤษ:http://www.keioplaza.com/ 

 

[ Imano Tokyo Hostel ]

s_20

Imano Tokyo Hostel เป็นโรงแรมแนวใหม่ที่สามารถสัมผัสกับบรรยากาศของโตเกียวได้อย่างสมจริง ชั้นหนึ่งเป็นเปิดเป็นคาเฟ่และบาร์ที่สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ รวมถึงชาวญี่ปุ่นได้ ส่วนห้องพักก็มีทั้งแบบรวมและแบบเดี่ยว ให้คุณได้เลือกเข้ากับสไตล์การท่องเที่ยวของคุณ โรงแรมนี้ตั้งอยู่ในโซนตะวันออก เดิน 9 นาที จากสถานีชินจูกุ สถานีที่ใกล้ที่สุดคือสถานีโตเกียวเมโทร Shinjuku Sanchome

▼เว็บไซต์ของ Imano Tokyo Hostel

ภาษาญี่ปุ่น:http://imano-tokyo.jp/ja/ 

ภาษาอังกฤษ:http://imano-tokyo.jp/ 

 

[ Booth Net Cafe & Capsule ]

s_21

สำหรับท่านที่อยากจะประหยัดค่าที่พัก ขอแนะนำ "โรงแรมแคปซูล" ที่พักแบบกล่องทรงแคปซูลที่เข้าไปนอนได้ทีละคน มีจุดประสงค์เพื่อใช้นอนพักผ่อนเท่านั้น จึงมีราคาถูกมาก Booth Net Cafe & Capsule เป็นเน็ตคาเฟ่ที่มีห้องแบบแคปซูลให้บริการ และยังมีชั้นที่เปิดไว้สำหรับผู้หญิงเท่านั้นอีกด้วย สามารถเข้าพักได้อย่างสบายใจ เดินจากสถานีชินจูกุเพียงแค่ 5 นาที ตั้งอยู่ในโซนตะวันออกใจกลางย่านคาบูกิโจ

▼เว็บไซต์ของ Booth Net Cafe & Capsule

ภาษาญี่ปุ่น:http://www.booth-netcafe.com/ 

ภาษาอังกฤษ:http://www.booth-netcafe.com/english/English_top.html 

 

iv. กิจกรรม

Cat Cafe Calico 

s_90

s_89

ยังมีกิจกรรมอีกหลากหลายที่สามารถทำได้ที่ชินจูกุนอกจากการช็อปปิ้งหรือรับประทานอาหาร หนึ่งในนั้นคือคาเฟ่แมว Calico นอกจากแมวแสนน่ารักๆ ที่เดินไปเดินมาาแล้วบางทีแมวก็ขึ้นมานอนบนตักของเราด้วยนะ! ร้านนี้เป็นหนึ่งในคาเฟ่แมวที่มีแมวมากที่สุดและมีพื้นที่กว้างที่สุด ทุกท่านสามารถผ่อนคลายไปกับกองทัพแมวกว่า 50 ตัวได้ที่นี่ !

▼ เว็บไซต์ของ Cat Cafe Calico

 http://www.catcafe.jp/ (ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น)

 

4. การเดินทางระหว่างโซนภายในอาคารสถานี

การที่จะพิชิตชินจูกุที่มีที่เที่ยวกระจายอยู่ในหลายๆ โซน ก็ควรที่จะทราบวิธีเดินทางระหว่างโซนให้ราบรื่น ต่อไปนี้จะแนะนำวิธีที่จะทำให้เดินระหว่างโซนได้โดยไม่หลง รวมถึงเส้นทางที่สั้นที่สุดในการเดินระหว่างโซน โดยจะใช้จุดเริ่มต้นการเดินในโซนตะวันตกเป็นทางออกทิศตะวันตก โซนตะวันออกเป็นทางออกทิศตะวันตก และโซนทิศใต้เป็นทางออกทิศใต้

 

 

 

i. เส้นทางใต้ดิน [ทางออกตะวันตก⇔ทางออกตะวันออก]

เริ่มจากเส้นทางที่เชื่อมระหว่างโซนตะวันตกกับโซนตะวันออก เป็นเส้นทางที่ใช้แค่ทางเดินใต้ดินเท่านั้น จึงเข้าใจได้ง่ายกว่าเส้นทางอื่นๆ

(1) ยืนหน้าช่องตรวจตั๋ว JR ทางออกตะวันตก เลี้ยวซ้าย

スライド1

 

(2) ลงบันได

スライド2

 

(3) เดินไปทางทางเข้าโตเกียวเมโทร สาย Marunouchiและสาย Toei-oueido

スライド3

 

(4) ยืนหน้าช่องตรวจตั๋วโตเกียวเมโทร สาย Marunouchi เลี้ยวขวา

スライド4

 

(5) เดินไปตามทางเดินด้านขวามือ(ทางเดินใต้ดินเชื่อมฝั่งตะวันตกตะวันออก)

スライド5

 

(6) หากเห็นป้ายที่เขียนว่า "Exit A9" เลี้ยวขวา

スライド6

 

(7) เดินขึ้นบันไดที่อยู่ลึกเข้าไป ถึงทางออกตะวันออก

※เป็นทางเดินที่สั้นที่สุดในวันที่เขียน (เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2017) ในปี 2020 จะเปิดใช้ถนน Oome ที่ใช้เชื่อมระหว่างทางออกตะวันออกและตะวันตก และจะเป็นทางเดินที่สั้นที่สุด

 

ii. ทางเดินบนพื้นดิน [ทางออกตะวันตก⇔ทางออกตะวันออก]

วิธีเดินทางระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกโดยไม่ใช้ทางเดินใต้ดิน แต่ใช้ถนนและอุโมงค์

(1) ยืนให้ JR ทางออกตะวันตกอยู่ด้านหลังแล้วเดินตรงไป

スライド8

 

(2) หากเห็นร้าน GODIVA ที่อยู่ด้านขวามือ ให้เดินขึ้นบันไดที่อยู่ถัดไป

スライド9

 

(3) เดินขึ้นบันไดที่อยู่ถัดจากร้าน GODIVA

スライド10

 

(4) เมื่อขึ้นมาถึงด้านบนแล้ว เดินตรงไป

スライド11

 

(4) เลี้ยวขวาตรงหัวมุมที่มีร้านยูนิโคล เข้าไปในซอย

スライド12

 

(5) เข้าไปจนเดินตรงต่อไม่ได้แล้ว เลี้ยวขวา

スライド13

 

(6) เดินตรงไป

スライド14

 

(7) เดินลอดอุโมงค์

スライド15

 

(8) เดินออกมา ถึงประตูตะวันออก

s_38

 

iii. [ทางออกใต้⇔ทางออกตะวันออก]

สามารถใช้ทางเดินบนดินเดินระหว่างทางออกใต้และทางออกตะวันออกได้ โดยทางเดินนี้ต้องออกจากอาคารสถานีหนึ่งครั้ง และผ่านหน้า JR Southeast exit

(1) หันหน้าเข้าหา JR ทางออกทิศใต้ เดินไปทางขวา

スライド16

 

(2) เข้าไปใน Lumine 2

スライド18

スライド19 スライド20 

 

(3) เดินทะลุ Lumine 2 จะพบกับ JR Southeast exit

s_46

 

(4) เดินลงบันไดที่อยู่หน้าช่องตรวจตั๋ว

スライド21

スライド22

 

(5) ลงบันได เลี้ยวซ้าย เดินตรงไป จะพบกับทางออกตะวันออก

スライド23

 

iv.[ทางออกใต้⇔ทางออกตะวันตก]

เป็นทางที่เข้าใจยากที่สุด ที่ทางออกตะวันตก จะมีสถานที่ที่อยู่ใกล้อยู่ 3 ที่ คือ ทางออกตะวันตกที่อยู่บนดิน, ที่ขึ้นรถไฟสาย Keio และ รถไฟสาย Toei-Shinjuku/Toei-Oedo/New Keio จึงจะแบ่งออกเป็น 3 เส้นทางแล้วอธิบาย (ข้อ (1)-(3)เป็นทางเดียวกัน)

 

①ทางออกใต้⇔ทางออกตะวันตกที่อยู่บนดิน

(1) หันหน้าเข้าหา JR ทางออกทิศใต้ เดินไปทางซ้าย

スライド17

 

(2) ผ่านหน้าช่องตรวจตั๋วรถไฟสาย Odakyu

スライド24

 

(3) จะพบทางเดินที่แบ่งออกเป็น 3 ทาง

スライド25

 

(4) ไปทางที่อยู่ด้านขวา (ขึ้นบันไดที่อยู่ทางด้านขวา)

スライド28

スライド29

 

(5) ออกมาที่ถนน Mosaic เดินตรงไป

スライド30

スライド31

 

(6) เดินลงบันไดทางลาด

スライド32

 

(7) ลงมาถึงจะพบกับทางออกตะวันตก

s_53

 

②ทางออกใต้⇔ที่ขึ้นรถไฟสาย Keio(ทางออกตะวันตกของรถไฟสาย Keio)

(1) หันหน้าเข้าหา JR ทางออกทิศใต้ เดินไปทางซ้าย

スライド17

(2) ผ่านหน้าช่องตรวจตั๋วรถไฟสาย Odakyu

スライド24

(3) จะพบทางเดินที่แบ่งออกเป็น 3 ทาง

スライド25

(4) ไปทางที่อยู่ตรงกลาง (เดินลงบันไดแคบๆที่อยู่ตรงกลาง)

スライド27

 

スライド33

スライド34

 

(5) เดินไปตามป้ายที่ชี้ทางไปรถไฟสาย Keio แล้วเดินไปตามทาง

スライド35

 

(6) ลงบันไดเลื่อน

スライド36

 

(7) เดินไปตามป้ายที่ชี้ทางไปรถไฟสาย Keio

スライド37

スライド39

 

(8) เดินลงบันไดอันที่ 2 แล้วจะถึง ทางออกตะวันตกของรถไฟสาย Keio

スライド40

s_64

 

③ทางออกใต้⇔ที่ขึ้นรถไฟสาย Toei-Shinjuku/Toei-Oedo/New Keio

(1) หันหน้าเข้าหา JR ทางออกทิศใต้ เดินไปทางซ้าย

スライド17

(2) ผ่านหน้าช่องตรวจตั๋วรถไฟสาย Odakyu

スライド24

(3) จะพบทางเดินที่แบ่งออกเป็น 3 ทาง

スライド25

(4) ไปทางที่อยู่ด้านซ้าย (ขึ้นบันไดเล็กๆที่อยู่ทางด้านซ้าย)

スライド26

スライド41

 

(5) ลงบันไดใหญ่ๆที่อยู่ด้านหน้า

スライド42

スライド43

 

(6) ลงบันไดแล้วเดินตรง

スライド44

 

(7) ลงบันไดอีกครั้ง

スライド45

 

(8) ลงบันไดเล็กเป็นขั้นตอนสุดท้าย

スライド46

 

(4) ถึงที่ขึ้นรถไฟสาย Toei-Shinjuku/Toei-Oedo/New Keio

s_72

 

5. การเดินทางจากชินจูกุไปยังพื้นที่ใกล้เคียง

มีรถไฟและถนนหลายสายที่ผ่านสถานีชินจูกุ การที่จะจดจำได้ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ดังนั้นในที่นี้จะขอแนะนำข้อมูลที่ควรรู้ในการโดยสารรถไฟ แท็กซี่ และข้อมูลเกี่ยวกับบริการรถเช่าให้ทุกท่านได้ทราบกัน

 

5-a. การเดินทางด้วยรถไฟ

 หากจะใช้รถไฟ ควรทราบข้อมูลก่อนว่าสายที่ต้องการขึ้นนั้นอยู่ในพื้นที่โซนไหน ตารางข้างล่างได้สรุปพื้นที่ที่สายรถไฟต่างๆ ตั้งอยู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว (ยกเว้นสาย JR)

 

i. สายรถไฟแยกตามพื้นที่ที่ตั้งอยู่

โซนตะวันตก

สาย Odakyu ※1

สาย Keio  ※2

สาย Marunouchi

โซนใต้

สาย Odakyu ※1

สาย Toei-Oedo

สาย Toei-Shinjuku ※3

สาย Keio New Line ※2・3

โซนตะวันออก

สาย Seibu Shinjuku  ※4

สถานี Shinjuku Sanchome ทุกสาย ※4

※1:มีทางเชื่อมระหว่างรถไฟสาย JR และ สาย Odakyu

※2:รถไฟสาย Keio และสาย New Keio เป็นรถไฟคนละสาย

※3:Toei-Shinjuku และ Keio New ใช้ที่ตรวจตั๋วและชานชาลาเดียวกัน

※4:เทียบกับรถไฟเส้นอื่นๆ แล้ว สถานีจะอยู่ในที่ที่ห่างออกมา

pixta_16364227_S

 

ii. ตรวจสอบสีของรถไฟแต่ละสาย

รถไฟทุกสายจะมีสีประจำตัวของแต่ละสายอยู่ ก่อนจะขึ้นรถไฟแต่ละครั้งก็ควรเช็คสีของรถไฟสายที่ต้องการขึ้นเอาไว้ก่อน เพราะแผนที่ที่แสดงรถไฟสายต่างๆ และแผนที่อื่นๆ ในสถานีก็จะใช้สีเดียวกัน ทำให้สะดวกยิ่งขึ้นในหลายสถานการณ์

東京都メトロ

RailRider/Wikipedia

 

5-b. การเดินทางด้วยแท็กซี่

ถึงแม้จะแพงกว่าเมื่อเทียบกับรถไฟ แต่ก็มีข้อดีตรงที่ถึงแม้จะมีสัมภาระจำนวนมาก ก็เดินทางได้สะดวก แต่ในขณะเดียวกันก็อาจต้องเผชิญกับการจราจรที่ติดขัดใจกลางเมือง โดยมีที่ขึ้นรถแท็กซี่ในสถานีชินจูกุทุกโซน

 

โซนตะวันออก

ที่ขึ้นแท็กซี่หน้าทางออกตะวันออกอยู่หน้า Lumine EST โดยเดินออกจากที่ตรวจตั๋วทางออก Central East exit แล้วเดินผ่าน Lumine EST ออกมาที่ถนนจะสะดวกที่สุด

s_74

 

โซนตะวันตก

หากอยู่ในโซนตะวันตก ควรไปขึ้นแท็กซี่ที่วงเวียนใต้ดิน หรือที่ขึ้นแท็กซี่หน้าทางออกตะวันตกที่ห้างสรรพสินค้า Keio (อยู่ใกล้รถไฟสาย Odakyu และสาย Keio)

s_pixta_14105021_S

 

โซนใต้

อยู่บนชั้นสามของตึก Busta Shinjuku มีข้อดีตรงที่มีลิฟต์ ดังนั้นแม้จะมีสัมภาระมากก็ใช้งานได้สะดวก ต่างจากฝั่งทางออกตะวันตกและทางออกตะวันออก

s_75

 

5-c. การเดินทางระยะไกลด้วยรถบัสความเร็วสูง

รถบัสความเร็วสูงจะช่วยให้คุณเดินทางไปยังที่ไกลๆ ได้ในราคาย่อมเยา หากต้องการขึ้นรถบัสความเร็วสูงให้ไปยัง Busta Shinjuku ที่อยู่ในโซนใต้ สามารถขึ้นลงบัสและซื้อตั๋วโดยสารได้ที่นี่ มีบริการห้องพักผู้โดยสารและศูนย์ให้บริการข้อมูลภาษาอังกฤษตลอดเวลา

s_pixta_21912831_S

 

5-d.บริการให้เช่ารถ

รถเช่าทำให้การเดินทางไปยังจุดหมายได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ก็อาจต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น การจราจรติดขัดและการหาที่จอดรถไม่พบ

[ Nissan Rent-a-Car ]

s_76

เดินจากรถไฟสาย JR สถานีชินจูกุ ทางออกตะวันตก ใช้เวลา 1 นาที ตั้งอยู่ในทีจอดรถทางออกตะวันตก เชื่อมต่อกับห้างสรรพสินค้า Odakyu ชั้นใต้ดินชั้นที่ 2

▼ เว็บไซต์ของ Nissan Rent-a-Car

ภาษาญี่ปุ่น:https://nissan-rentacar.com/ 

ภาษาอังกฤษ:https://nissan-rentacar.com/english/ 

 

[ Toyota Rent-A-Car ]

s_77

เดินจากรถไฟสาย JR สถานีชินจูกุ ใช้เวลา 2 นาที ออกจากทางออกทิศใต้ ข้ามถนนแล้วเดินตรงไปทางขวา เลี้ยวซ้ายตรงหัวมุมที่มีร้านโยชิโนะยะแล้วจะพบร้านตั้งอยู่

▼ เว็บไซต์ของ Toyota Rent-A-Car

ภาษาญี่ปุ่น:https://rent.toyota.co.jp/

ภาษาอังกฤษ:https://rent.toyota.co.jp/eng/ 

 

6. จุดอำนวยความสะดวกรอบสถานีชินจูกุ จุดไหนดี จุดไหนเด่น ใช้บริการให้หมด!

รวมจุดให้บริการและจุดอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทั้งในและรอบสถานีชินจูกุ มีแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับยามจำเป็น เป็นกลยุทธ์ขั้นสุดท้ายในการพิชิตสถานีชินจูกุ!

 

6-a. ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว

[ Shinjuku Tourist Information Center ]

s_81

ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวแห่งนี้ตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม ปี 2016 ใกล้กับ South East Exit (อยู่ใต้ทางยกระดับของถนน Koshu Kaido) สามารถแนะนำข้อมูลการท่องเที่ยวได้ในภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษเท่านั้น แต่สามารถใช้แท็บเล็ตในการสื่อสารได้ ซึ่งรองรับภาษาอังกฤษ จีน เกาหลี โปรตุเกส เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ ภาษาไทย

มีบริการต่างๆดังนี้

  • แนะนำการท่องเที่ยวทุกประเภท (ภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น)
  • แจกแผ่นพับและแผนที่
  • ค้นหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
  • ไวไฟฟรี
  • ATMและบริการแลกเงิน
  • อื่นๆ (เช่น ที่ฝากกระเป๋าแบบหยอดเหรียญ)

 

▼เว็บไซต์ของ Shinjuku Tourism Promotion Association

(ภาษาญี่ปุ่น)http://www.kanko-shinjuku.jp/office/-/index.html

(ภาษาอังกฤษ)http://www.kanko-shinjuku.jp.e.xm.hp.transer.com/ 

 

[ Tokyo Tourism Information Center ]

s_80

เป็นศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 ของตึก Busta Shinjuku ซึ่งอยู่เชื่อมกับ New south exit หรือเดินจากทางออกทิศใต้ไปใช้เวลา 4 นาที หรือหากสะดวกกว่า จะใช้บริการที่ศาลาว่าการกรุงโตเกียวตึก 1 ชั้น 1 ก็ได้เช่นกัน

มีบริการต่างๆ ดังนี้

  • แนะนำการท่องเที่ยวได้หลายภาษา(ญี่ปุ่น อังกฤษ จีน และเกาหลี)
  • ไวไฟฟรี
  • จองตั๋ว
  • จองทริปท่องเที่ยว (เฉพาะที่ Busta Shinjuku)
  • แลกเงิน (เฉพาะที่ Busta Shinjuku)
  • บริการส่งหรือรับฝากกระเป๋า (เฉพาะที่ Busta Shinjuku)

 ▼เว็บไซต์ของ Tokyo Tourism Foundation

ภาษาญี่ปุ่น:https://www.gotokyo.org/jp/tourists/info/center/ 

ภาษาอังกฤษ:http://www.gotokyo.org/en/tourists/info/center/ 

 

6-b.สถานที่รับแลกเงิน

สถานที่ที่แลกเงินเป็นเงินเยนได้ ได้แก่ ธนาคาร, ร้านรับแลกเงิน เช่น Travelex, ร้านรับแลกตั๋วเงิน และอื่นๆ ในที่นี้จะขอแนะนำ 2 ที่ที่ไปจากสถานีชินจูกุได้ง่าย  

[ Travelex Shinjuku ]

s_82

ตั้งอยู่หน้าประตูตะวันออกชั้นบนดินของรถไฟสาย Odakyu รับแลก 33 สกุลเงิน ตั้งอยู่ข้าง Odakyu Sightseeing Service Center

▼เว็บไซต์ของ Travelex

http://www.travelex.co.jp/JP/Home-jajp/ 

http://www.travelex.co.jp/JP/Home/ 

 

[ World Currency Shop ]

s_83

เป็นร้านรับแลกเงินที่บริหารโดยกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นอย่างมิตซึบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียลกรุ๊ป โดยธนาคารมิตซูบิชิโตเกียว ยูเอฟเจ สาขาชินจูกุ ตั้งอยู่ในพื้นที่โซนตะวันตกชั้นใต้ดินชั้นที่ 2 รับแลกเงินทั้งหมด 19 สกุล

▼ เว็บไซต์ของ Tokyo Credit Service

http://www.tokyo-card.co.jp/wcs/ (ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น)

 

6-c. ไวไฟ/ที่ชาร์จไฟ

[ Keio Free Wi-Fi ]

s_85

คุณสามารถใช้บริการไวไฟฟรีภายในสถานีรถไฟสาย Keio เพียงแค่ลงทะเบียนใช้บริการ docomo Wi-Fi, Wi2 300 หรือ au Wi-Fi SPOT นอกจากนี้ ยังมีบริการไวไฟฟรีของหน่วยงานท้องถิ่น บริษัทรถไฟ และสถานที่อื่นๆ ในเมืองอีกด้วย การใช้งานต้องลงทะเบียนเข้าใช้ไวไฟแต่ละอัน แต่หากมีแอปพลิเคชัน Japan connected-free Wi-Fi ติดเครื่องไว้แล้วล่ะก็ ลงทะเบียนเพียงแค่ครั้งเดียว ก็สามารใช้บริการไวไฟทั้งหมดที่ให้บริการได้ สะดวกมากจริงๆ !

 

[ Kissashitsu Renoir ] (喫茶室ルノアール)

s_87

หากต้องการใช้ปลั๊กไฟล่ะก็ ต้องร้านกาแฟ! Kissashitsu Renoir อยู่ใกล้ Shinjuku Alta โดยเดินเพียงแค่ 1 นาทีจากทางออกตะวันออก ที่นี่ให้บริการปลั๊กไฟและไวไฟฟรี Kissashitsu Renoir มีหลายสาขาในชินจูกุ ซึ่งให้บริการปลั๊กไฟเกือบทั้งหมด ร้านกาแฟแฟรนไชส์อย่างสตาร์บัคส์หรือ Dotour ส่วนใหญ่ก็มีให้บริการปลั๊กไฟเช่นกัน

 ▼ เว็บไซต์ของ Ginza Renoir

https://www.ginza-renoir.co.jp/ (ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น)

 

6-d. ที่ฝากสัมภาระ

[ล็อกเกอร์ฝากกระเป๋าแบบหยอดเหรียญ]

s_78

หากผ่านช่องตรวจตั๋วเข้าไปในสถานี JR แล้ว จะมีล็อกเกอร์ฝากกระเป๋าแบบหยอดเหรียญจำนวนมากที่บริเวณทางออกตะวันออกและทางออกใต้ โดยมีตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ใช้ใส่กระเป๋าเดินทางได้ (843×355×575 ม.ม.) และยังสามารถตรวจสอบจำนวนล็อกเกอร์ที่ว่างอยู่ได้แบบเรียลไทม์ที่บริเวณทางออกใต้และ Central East exit สะดวกมากจริงๆ  ถึงตรงนี้

หากออกมานอกช่องตรวจตั๋ว ก็มีตู้ล็อกเกอร์ติดตั้งไว้จำนวนมากเช่นกัน แต่ตู้ที่อยู่บริเวณใกล้ช่องตรวจตั๋วจะเต็มเสียเป็นส่วนมาก ที่ที่มีที่ว่างมากกว่าที่อื่นๆคือตู้ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ทางเข้าที่จอดรถทางออกตะวันตกที่อยู่ชั้นใต้ดินบริเวณทางออกตะวันตก และตู้ที่อยู่บริเวณที่ขึ้นแท็กซี่ของทางออกตะวันออก

 

[ Keio Nekonote Counter ]

s_79

หากหาล็อกเกอร์ฝากของไม่เจอล่ะก็ ลองใช้บริการ Keio Nekonote Counter ที่อยู่บริเวณช่องตรวจตั๋วของรถไฟสาย New Keio ดูสิ ที่นี่นอกจากจะรับฝากสัมภาระ (ที่ต้องรับคืนภายในวันเดียวกัน) แล้ว ยังมีบริการส่งกระเป๋าไปโรงแรมหรือสนามบินฮาเนดะหรือแม้แต่บริการส่งถึงบ้านอีกด้วย

▼เว็บไซต์ทางการของ Keio Nekonote Counter

ภาษาญี่ปุ่น:https://www.keiochika.co.jp/baggage/ 

ภาษาอังกฤษและจีน:https://qrtranslator.com/0000001730/000001/ 

 

สำหรับท่านที่อยากฝากกระเป๋าแล้วเที่ยวได้อย่างคล่องตัว อย่าลืมอ่านบทความนี้นะคะ

Leave Even Large Suitcases at Cafes So You Can Conveniently Sightsee in Japan Using This Service!

 

 

6-e. ห้องสวดมนต์

s_88

ห้องสวดมนต์ตั้งอยู่ ชั้น 11  ของห้างสรรพสินค้า Takashimaya ซึ่งอยู่ห่างจากexit ของรถไฟสาย JR และ Shinjuku Miraona Tower อยู่ 2 นาทีเดิน ภายในห้องปูด้วยพรม และมีที่ล้างเท้า

▼ เว็บไซต์ทางการของ Shinjuku Takashimaya

ภาษาญี่ปุ่น:http://www.takashimaya.co.jp/shinjuku/ 

ภาษาอังกฤษ:http://www.takashimaya.co.jp/shinjuku/store_information/index.html 

ภาษาจีน:http://www.takashimaya.co.jp/shinjuku/store_information/index3.html

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ การจะทำอะไรในพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคยนี่ยากอยู่ใช่ไหมล่ะ แถมยังเป็นที่ที่มีคนพลุกพล่านอย่างชินจูกุอีกเลยยิ่งยากเข้าไปใหญ่ แต่หากอ่านบทความนี้เตรียมตัวไปก่อนล่ะก็ รับรองว่าพิชิตเขาวงกตอย่างสถานีชินจูกุได้อยู่หมัดแน่นอนค่ะ!

มนต์เสน่ห์คันโต

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

รับส่วนลดมากมายในญี่ปุ่น ที่นี่!

เกี่ยวกับนักเขียน

tsunagu
tsunagu Japan
นี่คือแอ็คเคาท์ทางการของ tsunagu japan
  • แผนการท่องเที่ยวคัดสรรค์โดยนักเขียน tsunagu Japan!

ค้นหาร้านอาหาร